วัฎจักรของการทำความเย็น มีความสำคัญอย่างไร
เปิดอ่าน 5,944
คิดว่าทุกคนรู้สึกเย็นตรงที่ถูกทาแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนฉีดยา ในการนี้เราสามารถอธิบายถึงการที่แอลกอฮอล์ระเหยได้ว่า เพราะได้รับความร้อนจากร่างกายของเราเพื่อเป็นความร้อนแฝงของการระเหยตัวของแอลกอฮอล์ เราจึงทราบว่า ความเย็นก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ แต่จะต้องใช้แอลกอฮอล์จำนนมากทีเดียว แต่การทำความเย็นด้วยวิธีนี้ จะก่อให้เกิดมลภาวะเสียให้กับอากาศรอบ ๆ และไม่เป็นการประหยัด
เพื่อที่จะแก้ปัญหาอันนี้ จึงมีการค้นคว้าระบบเครื่องทำความร้อนขึ้น เพื่อให้ตัวของสารทำความเย็นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เป็นการหมุนเวียนอยู่ในระบบของเครื่องทำคามเย็น วงจรหมุนเวียนของสารทำความเย็นนี้เราเรียกว่า วัฎจักรของการทำความเย็น แต่เพราะแอลกอฮอล์เป็นสารทำความเย็นที่ไม่อยู่ตัวทางเคมีเราจึงต้องหาสารทำความเย็นที่อยู่ตัวที่เหมาะกับการทำความเย็น
สารทำความเย็นที่คิดค้นขึ้นนี้มีสัญลักษณ์ดังนี้คือ R-12, R-22, R-502 … และได้นำมาใช้ในเครื่องทำความเย็นปัจจุบัน
เรามีวิธีเปลี่ยนสภาพของไอที่ระเหยของสารทำความเย็นให้เป็นน้ำยาเหลวได้อย่างไร?
คำตอบก็คือ จะต้องทำให้สารที่ระเหยเป็นไอให้กลับเป็นของเหลวได้อีก โดยการเพิ่มความดันแม้ว่าอุณหภูมิของไอจะสูงกว่าอุณหภูมิของการระเหยก็ตาม เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้
...น้ำเหลวที่อยู่บนยอดภูเขาหิมาลัยจะเดือดกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ 71*C ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าที่อุณหภูมิ 100*C และถ้าเรายกน้ำเดือดจากยอดภูเขาหิมาลัย (ที่ความดันบรรยากาศน้อย) นำมาไว้ที่ต่ำ ๆ (บรรยากาศที่มีความดันมากขึ้น) ไอน้ำนี้จะกลั่นตัวเป็นน้ำเหลวตามเดิม หลักการนี้ได้นำมาใช้ในวงจรของการทำความเย็น