6 หลักปฏิบัติ ในการตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
เปิดอ่าน 13,743
เพื่อความปลอดภัยแก่สวัสดิภาพของตัวท่านเอง และเกี่ยวกับความปลอดภัยในเครื่องใช้นั้น ๆ ด้วย ประการแรกที่สุดคือ ควรตัดสวิตซ์ทางเดินของกระแสไฟเสียก่อนทุกครั้ง หรือนำเอาเครื่องใช้นั้น ๆ ออกมาจากแหล่งที่มีกระแสไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยทั้งสองประการในชั้นต้น แล้วให้ปฏิบัติการซ่อมโดยลำดับขั้นดังต่อไปนี้
1. ได้แก่ การระวังรักษาเครื่องใช้ และร่างกายของตัวท่านเองเป็นประการแรก คือ ให้ปลดเอาเครื่องใช้นั้น ๆ ออกจากทางเดินของกระแสไฟฟ้า
2. ข้อเสีย หรือข้อบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องใช้นั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเครื่องใช้ประเภท Heater ย่อมมีข้อเสียหายเกี่ยวกับตัวแผ่นธาตุของฮีตเตอร์นั้น ๆ หรือข้อต่อต่าง ๆ ถ้าเป็นเครื่องใช้ประเภทมอเตอร์ขับ มักจะเสียตรงส่วนที่มีการเคลื่อนไหว
3. ชิ้นส่วนของไฟฟ้า ควรจะต้องตรวจข้อบกพร่องเป็นอันดับแรกตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 และข้อ 2 ปรากฏว่า พบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นต่างชนิดของเครื่องใช้ที่จะต้องซ่อมหรือเปลี่ยน ก็ควรรีบทำการซ่อมหรือเปลี่ยนทันที
4. ก่อนที่จะถอดชิ้นส่วนออกซ่อมหรือเปลี่ยน ควรทำเป็นบันทึกแผนผังไว้ หรือทำเครื่องหมายบนชิ้นส่วนนั้น ๆ เสียก่อน เพื่อมิให้เกิดสับสนหรือเสียเวลาในการประกอบภายหลัง แต่ถ้าปรากฏว่าชิ้นส่วนของเครื่องใช้ชนิดนั้นพัง ควรหาเครื่องใช้ที่คล้ายกันมาเปรียบเทียบเอาไว้
5. ชิ้นส่วนบางชนิด เมื่อถอดออกแล้วแต่ไม่สามารถจะซ่อมได้หรือเป็นชิ้นส่วนที่ชำรุดไม่เหมาะแก่การซ่อม หรือนำกลับมาใช้ใหม่ควรเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนเสีย เช่น สายไฟ หรือปลั๊ก เป็นต้น
6. การประกอบชิ้นส่วนเข้าที่เดิมให้ทำงานทีละขั้นช้า ๆ และต้องตรวจสอบสภาพแต่ละชิ้นส่วนนั้นให้ดีเสียก่อนที่จะประกอบเข้า หรือควรทำความสะอาดประการใดก็ควรทำเสียด้วย เมื่อประกอบเข้าที่เดิมแล้วให้ตรวจดูอีกครั้ง ก่อนที่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเครื่องใช้นั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยของท่านและเครื่องใช้นั้น ๆ ด้วย