2 วิธีปฏิบัติ เพื่อเติมสารทำความเย็น-น้ำยาแอร์ เข้าในระบบ
เปิดอ่าน 18,529
วิธีเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
การเติมสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นแก๊ส
การเติมสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นแก๊ส (vapor refrigerant charging) คือวิธีการเติมสารทำความเย็นจากถึงบรรจุสารทำความเย็นเข้าในระบบ โดยสารทำความเย็นมีสถานะเป็นแก๊ส ซึ่งสามารถเติมเข้าได้ทั้งทางด้านความดันต่ำและด้านความดันสูงเมื่อระบบหยุดทำงาน หรือเติมเข้าในระบบได้เฉพาะด้านความดันต่ำเมื่อระบบกำลังทำงาน เนื่องจากการเติมวิธีนี้สารทำความเย็นจะถูกปล่อยออกจากถังในสภาพที่เป็นแก๊สตลอดเวลา ความดันภายในถังจะลดลง สารทำความเย็นเหลวในถังจึงเดือดกลายเป็นไอ ทำให้อุณหภูมิและความดันภายในถังลดลงจนไม่สามารถเติมเข้าระบบต่อไปได้ จึงควรแก้ไขเพื่อเพิ่มความดันภายในถังโดยการแช่ถังน้ำยาไว้ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 90oF ตลอดเวลาที่ทำการเติมสารทำความเย็น ห้ามใช้เปลวไฟจากหัวเชื่อมในการเพิ่มความดันให้สารทำเย็นในถัง
การเติมสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นของเหลว
การเติมสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นของเหลว (liquid refrigerant charging) คือวิธีการเติมสารทำความเย็นจากถังบรรจุสารทำความเย็นเข้าในระบบโดยสารทำความเย็นมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งสามารถเติมเข้าในระบบได้โดยผ่านท่อสารทำความเย็นเหลว (liquid line) ทั้งในขณะระบบหยุดทำงานและระบบกำลังทำงาน การเติมสารทำความเย็นวิธีนี้สามารถทำได้รวดเร็วกว่าวิธีการเติมแก๊สมาก จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ และมีข้อสังเกตคือการเติมสารทำความเย็นวิธีนี้เข้าระบบจะไม่ทำให้เกิดการเดือดของสารทำความเย็นเหลวที่อยู่ในถังเหมือนการเติมสารทำความเย็นในสถานที่เป็นแก๊ส จึงไม่ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิให้กับถังน้ำยา
- ค่ากระแสในการเริ่มต้นสตาร์ตมอเตอร์หรือค่า LRA (locked rotor amperage) เป็นค่ากระแสที่จ่ายใหักับมอเตอร์ขณะเกิดภาระสูงสุดคือขณะเริ่มสตาร์ต ซึ่งค่ากระแส LRA จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นทำงานใน 2-3 วินาทีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นมอเตอร์จะต้องการกระแสน้อยลงเป็นกระแสขณะทำงานปกติ
- ค่ากระแสในขณะมอเตอร์ทำงานปกติหรือค่า FLA (full load amperage) หรือค่า RLA (rated load amperage หรือ run load amperage) ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน คือเป็นค่ากระแสสูงสุดที่มอเตอร์ใช้ในขณะทำงานปกติ ในการเติมสารทำความเย็นใช้ค่า FLA เป็นส่วนประกอบการพิจารณา โดยเมื่อเติมสารทำความเย็นเต็มระบบ กระแสที่ใช้จะต้องไม่เกินค่า FLA ถ้ากระแสมากจนถึงค่า FLA ถึงแม้ว่าสารทำความเย็นยังไม่เต็มระบบก็ห้ามเติมสารทำความเย็นต่อไป จะต้องหยุดเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาก่อน เพราะถ้าเติมสารทำความเย็นเต็มระบบแต่กระแสเกินค่า FLA มอเตอร์จะต้องทำงานเกินกำลัง อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (overload protector) จะตัดวงจรหรืออาจทำให้มอเตอร์ไหม้เสียหายได้