แอร์หน้าต่าง (Window Type) ความนิยมที่ลดลงในเมืองไทย
เปิดอ่าน 29,393
แอร์หน้าต่างหรือเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง (Window Type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวมทั้งคอล์ยร้อนและคอล์ยเย็นอยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่กำแพงห้องหรือช่องหน้าต่างได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินท่อน้ำยาข้อดีของแอร์หน้าต่าง คือ ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินท่อน้ำยา ทำให้สามารถติดตั้งง่ายและสะดวก ค่าติดตั้งถูกมากเมื่อเทียบกับแอร์แบบอื่นๆ ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอล์ยร้อน
ไม่มีปัญหาในการหาที่วางคอล์ยร้อนเหมือนแอร์แบบอื่นๆ ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา สามารถทำความเย็นได้ดีมากในประเทศที่มีพื้นที่ใช่สร้อยค่อนข้างน้อยอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นจะนิยมติดตั้งแอร์หน้าต่างมาก แต่กับประเทศไทยความนิยมกับแอร์แอร์หน้าต่างค่อนข้างน้อย หาซื้อค่อนข้างยากหน่อย อีกหนึ่งข้อก็คือ ได้บีทียูที่เหมาะสมกับห้องที่มีขนาดเล็ก(ขนาดของแอร์หน้าต่างมีตั้งแต่7,000-18,000บีทียูทีมีขายในเมืองไทย)เพราะแอร์แบบติดผนัง(Wall Type)มีขนาดต่ำสุดคือ 9,000บีทียูเป็นต้นไป
ข้อเสียของแอร์หน้าต่างที่ไม่เป็นที่นิยมในเมืองไทยคือ ตัวแอร์เวลาทำงานมีเสียงดังมากและสั่นไปทั่วห้องกับห้องนอนที่เป็นไม้และบ้านไม้ โดยเฉพาะเมื่อติดตั้งตรงจุดที่ไม่ค่อยแข็งแรง บำรุงรักษายาก เพราะเวลาแอร์เสียต้องยกลงมาทั้งหมด ซื่งแอร์แบบนี้น้ำหนักจะมากเพราะอะไหล่ทุกชิ้นส่วนอยู่รวมกันหมด ถ้าเป็นแอร์ที่บีทียูมากก็ยิ่งทำให้น้ำหนักมากขึ้นด้วย จนหาที่ติดตั้งลำบากเพราะผนังส่วนใหญ่รับน้ำหนักไม่ไหว
“…จริงๆ ที่คลองถมก็เยอะครับ ที่แถวเซียงกงก็อาจจะมีติดแถมมาบ้าง เพราะจริงๆ แล้ว เซียงกงเน้นอะไหล่รถยนต์ แต่อะไรจากญี่ปุ่นที่ดูแล้วน่าจะทำเงินได้ พ่อค้าไทยก็ไม่พลาดนำเข้ามาขายหรอกครับ ผมยังเคยเจอเครื่องซักผ้า รถตัดหญ้า เก่าจากญี่ปุ่นที่เซียงกงปทุมวันเลยครับ แต่ขอบอกว่าไม่รับประกันว่าจะเจอเสมอไปนะครับแอร์มือสองจากญี่ปุ่นดีไหม ตอบว่าต้องเลือกของเป็นครับ แนะนำให้ซื้อตามสภาพดีกว่า อย่าไปซื้อแบบที่เขาพ่นสีหน้ากากจนดูใหม่แล้ว หรือขัดรังผึ้งจนขาววับ เนื่องจากเมื่อมีการพ่นสีหรือล้างภายในจะต้องมีการรื้อถอดหน้ากากออก ซึ่งช่างเถอะแบบไทยๆ ไม่รู้ว่ามีความปราณีตแค่ไหน ประกอบถูกต้องรึเปล่า ต่อสายไฟครบไหม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาในระยะต่อไปทั้งนั้น โดยเฉพาะส่วนที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากช่างเถอะทำแบบไทยๆ ทำแบบ ชุ่ยๆ
ก่อนซื้อลองให้คนขายเสียบไฟให้ดูเลยครับ ความเย็นต้องเย็นแบบฉ่ำๆ มือจนรู้สึกได้ และเย็นแบบเต็มช่อง ไม่ใช้เย็นแค่ครึ่งเดียว หากเย็นแบบแห้งๆ แล้วคนขายตลบแตลงบอกว่าเดี๋ยวเจออากาศร้อนมันจะเย็นเอง อย่าเชื่อเด็ดขาดครับ ถึงสภาพภายนอกจะปิ๊งแค่ไหน ก็ตัดใจเถอะครับ สวยแต่รูปจูบไม่ลง และที่สำคัญต้องไม่ไฟรั่วหรือไฟดูดนะครับโดยเฉพาะส่วนลำตัวที่เป็นโลหะที่ ต้องสัมผัสกับผู้ใช้งานดูสภาพภายนอกก่อนครับว่าลำตัวมีการแตกหักเสียหายมากไหม จะมีบ้างก็ไม่ว่ากันครับ เพราะอย่าลืมว่านี่เป็นของเคยใช้งานมาแล้วและคนไทยไปรื้อมาจากญี่ปุ่นเอามา ขายต่อ รังผึ้งจะหมองไม่ขาวใสปิ๊งก็ไม่เป็นไรครับ แต่อย่าบุบบิบบู้บี้จนยับเยิน อย่าเอาเด็ดขาด ตัดใจดีกว่า และถ้าเป็นไปได้ เลือกแบบที่เป็นระบบธรรมดาที่สุด อย่าพยายามเลือกแบบที่ใช้รีโมทหรืออิเล็กทรอนิกส์ เพราอย่าลืมนะครับ ของแบบนี้ไม่มีอะไหล่เวลาเสีย กลับไปหาร้านที่ขายอย่างเก่งก็มีอะไหล่ที่รื้อมาจากแอร์ที่สภาพเก่าพอกัน ฉะนั้น อยาเลือกแบบที่เสี่ยงต่อการเสียง่ายแต่หาอะไหล่ยากคำถามที่ว่ากินไฟไหม ขึ้นกับว่าเราใช้งานอย่างไรมากกว่าครับ แต่ที่แน่ๆ ต้องใช้หม้อแปลงที่มีกำลังสูงพอที่จะสามารถทนกระแสการใช้งานได้ ซึ่งก็ตัวใหญ่พอๆกับลูกตะกร้อที่เขาใช้เตะกัน แต่หนักกว่ามาก เลือกหม้อแปลงที่มีคุณภาพจะได้ไม่ร้อนมากเมื่อใช้งานนานๆ แอร์จากญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้สายไฟเส้นไม่ใหญ่มากแสดงว่าใช้กระแสไม่มาก แต่นั้นไม่ได้หมายถึงไม่กินไฟนะครับ ขึ้นกับการใช้งานของเรา …”