แผนภาพไซโครเมตริกมีประโยชน์อย่างไร ?
เปิดอ่าน 9,914
อากาศที่อยู่รอบตัวเราประกอบด้วยอากาศแห้งและไอน้ำซึ่งเรียกว่าอากาศชื้น การหาปริมาณไอน้ำหรือปริมาณ ความร้อนที่อยู่ในอากาศชื้นจะต้องใช้แผนภาพไซโครเมตริก โดยแผนภาพไซโครเมตริกจะแสดงคุณสมบัติดังนี้
แผนภาพไซโครเมตริก
- อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature, db) คืออุณหภูมิที่อ่านค่าจากเทอร์โมมิเตอร์ที่กระเปาะแห้ง
- อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature, wb) คืออุณหภูมิที่อ่านจากเทอร์โมมิเตอร์ที่กระเปาะหุ้มด้วยผ้าสำลีที่ชื้นโดยต้องมีกระแสลมพัดผ่านกระเปาะเปียกที่ความเร็วไม่น้อยกว่า 5 m/s
- ปริมาณความชื้นในอากาศ (Humidity ratio) คืออัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างไอน้ำในอากาศต่ออากาศแห้ง 1 kg
- ความชื้นในอากาศ (Relative humidity, RH) คืออัตราส่วนความดันระหว่างความดันของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศชื้น และความดันอิ่มตัวของไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน
- ปริมาตรจำเพาะของอากาศชื้น (Specific volume,) คือปริมาตรของอากาศชื้นต่อ1กิโลกรัมของอากาศแห้ง
- อุณหภูมิจุดน้ำค้าง(Dew point, DP) คืออุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศเริ่มควบแน่นเป็นหยดน้ำเมื่ออากาศชื้นถูกทำให้เย็นลง
- ความร้อนจำเพาะของอากาศ (Specific enthalpy, h) คือปริมาณความร้อนที่ทำให้อากาศแห้ง 1 กิโลกรัม
- และน้ำ X กิโลกรัม ร้อนขึ้นจาก 0OC เป็น toC และทำให้น้ำ X กิโลกรัม ระเหยกลายเป็นไอหมด