เบรกเกอร์กันดูด ELCB คืออะไร อยู่ที่เครื่องทำน้ำอุ่น มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
การใช้งานไฟฟ้าย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงได้เสมอ โดยเฉพาะการเกิดกระแสไฟรั่วหรือมีปัญหาไฟดูดจากการใช้งาน แต่จะดีมากทีเดียว หากมีระบบป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาพูดถึงเบรกเกอร์กันดูด ELCB เบรกเกอร์ชนิดนี้คืออะไร มีหน้าที่ในการทำงานอย่างไรบ้าง ไปติดตามได้เลย ดังนี้
เบรกเกอร์กันดูด ELCB คืออะไร
เบรกเกอร์กันดูด ELCB มีชื่อเต็มว่า Earth Leakage Circuit Breaker ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกเป็นชื่อสั้นๆ ว่าเบรกเกอร์ ELB ซึ่งเป็นเบรกเกอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยเป็นอุปกรณ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว ซึ่งบริเวณตัวเบรกเกอร์นั้นจะมีปุ่มที่เรียกว่า Test แตกต่างจากเบรกเกอร์ธรรมดาที่จะไม่มีปุ่มดังกล่าว ทำให้วิธีการทำงานและวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันไป
หน้าที่สำคัญของเบรกเกอร์กันดูด ELCB
หน้าที่สำคัญของเบรกเกอร์กันดูด ELCB คือ เป็นตัวตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติในกรณีที่เกิดกระแสไฟรั่วลงดินในระดับที่ตรวจจับได้ อีกทั้งยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ด้วยเช่นกัน แต่ข้อจำกัดของเบรกเกอร์ ELCB คือ จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าได้เองในกรณีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดที่ระบุเอาไว้ แตกต่างจากการใช้งานเบรกเกอร์ธรรมดาที่จะสามารถปลดวงจรไฟฟ้าหากใช้งานเกินพิกัดได้เอง เพราะพิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของเบรกเกอร์ ELCB นั้น คือค่าสูงสุดที่สามารถทนได้ ไม่ใช่ค่าสำหรับการปลดวงจร
เบรกเกอร์ ELCB เหมาะกับการใช้งานอย่างไร
เบรกเกอร์ ELCB เหมาะสำหรับการใช้งานในการควบคุมและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่มีโอกาสไฟฟ้ารั่วหรือเป็นต้นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน ฯลฯ
ประสิทธิภาพในการตัดไฟของเบรกเกอร์ ELCB
ประสิทธิภาพโดยทั่วไปของเบรกเกอร์ ELCB ในการตัดไฟ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราวๆ 0.01 - 0.04 วินาที ซึ่งถือเป็นจุดสังเกตสำคัญในการเลือกซื้อเบรกเกอร์ ELCB ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะเวลาเพียงเสี้ยวเดียวของไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก
หลักการทำงานของเบรกเกอร์ ELCB
การทำงานของเบรกเกอร์ ELCB มีหลักการคือ การเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าระหว่างสายไฟ 2 เส้น คือไปและกลับต้องมีค่าเท่ากัน หากมีกระแสรั่วออกจากระบบ เครื่องจะตรวจสอบได้ทันที และจะทำการปลดวงจรออก โดยเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB นั้น จะมีค่าความไวในการตรวจจับกระแสไฟที่เรียกว่าค่า Sensitive ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิแอมแปร์ (mA) ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันนี้มีให้เลือกอยู่ 2 ขนาดคือ 15mA และ 30 mA ซึ่งหลักในการเลือกเบรกเกอร์ ELCB มาใช้งานกับเครื่องใช้ฟ้าทั่วไปๆ ภายในบ้านเรือน เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น หรือเครื่องทำน้ำร้อน ซึ่งควรเลือกความไวในระดับ 15 mA จึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน
ปุ่ม TEST ของเบรกเกอร์ ELCB
ปุ่ม TEST ของเบรกเกอร์กันดูด ELCB มีหน้าที่ในการทดสอบการทำงานของตัวเบรกเกอร์ว่าสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติหรือไม่ในสภาวะที่ไม่มีการจ่ายไฟเข้ามา โดยมีหลักการในการทำงานเปรียบเสมือน การจำลองสภาวะที่มีกระอแสไฟฟ้าไหลไปและกลับไม่เท่ากัน หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นการจำลองภาวะที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกไปนั่นเอง ซึ่งความเร็วในการตัดไฟโดยทั่วไปในเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB ที่มีวางขายในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ก็จะมีความเร็วในการปลดวงจรไฟฟ้าที่ราวๆ 0.30 วินาที ซึ่งเป็นความไวในระดับมาตรฐานนั่นเอง