เกณฑ์การเก็บภาษีแอร์จากค่า EER
เปิดอ่าน 1,624
ยังไม่จบกันง่ายๆสำหรับกรณีกรมสรรพสามิตจะกลับมาเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดทำความเย็นต่ำกว่า 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง หลังจากยกเลิกไปเมื่อปี 2552 โดยกรมสรรพสามิตอ้างว่าราคาเครื่องปรับอากาศในท้องตลาดไม่ลดลงตลอด 2ปีที่ผ่านมา โดยจะอิงเกณฑ์การเก็บภาษีจากค่า EER “เดิมจัดเก็บภาษีอยู่เท่าใด ก็จะจัดเก็บในอัตราเดียวกันนั้น” แต่นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมโดยนำมาตรฐาน EER (Energy Efficiency Ratio) มาใช้ ด้วยการกำหนด “ค่ากลาง” EER ไว้ที่ 13 หากผู้ประกอบการรายใดสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศมีค่า EER “สูงกว่า” 13 ก็จะได้รับการปรับลดอัตราภาษี แต่ผู้ประกอบการรายใดผลิตเครื่องปรับอากาศมีค่า EER “ต่ำกว่า” 13 ก็จะถูกจัดเก็บภาษีเพิ่ม โดยจะไม่ใช้เกณฑ์การประหยัดไฟฟ้าในรูปแบบการติดฉลากประหยัดไฟเหมือนที่ผ่านมาอีก
ด้านผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำของประเทศไทยก็ออกมากล่าวคัดค้านเต็มที่กับการจะกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศอีกครั้ง เพราะว่าราคาเครื่องปรับอากาศหลังจากการยกเลิกการเก็บภาษีไปเมื่อปี 2552 ได้ลดลงมาก ยกตัวอย่างแอร์ขนาด 1ตันความเย็น (12,500 บีทียูต่อชั่วโมง) ราคาเพียง 10,000 กว่าบามเท้านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมาก ซ้ำยังมีการแข่งขันกันอย่างมาก หากขายแอร์ในราคาแพงใครจะมาซื้อ
ด้านนางจินตนา ศิริสันธนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ออกมาให้ความเห็นลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจไว้ว่า “กรณีที่กรมสรรพสามิตเตรียมที่จะกลับมาเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศที่ร้อยละ 15 หลังจากที่ “ยกเว้น” การจัดเก็บมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ว่า ทางกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศพร้อมจะยื่นหนังสือคัดค้านต่อกรมสรรพสามิตทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่กรมสรรพสามิตอ้างว่า หลังจากที่กรมยกเว้นการจัดเก็บภาษีมา 2 ปี ไม่มีผู้ประกอบการรายใดปรับลดราคาจำหน่ายเครื่องปรับอากาศลงมาเลย ซึ่งในประเด็นนี้ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากสภาพการแข่งขันในตลาดทำให้ผู้ประกอบการลดราคาจำหน่ายเครื่องปรับอากาศลงมาอย่างต่อเนื่องตามราคาที่รายงานไปยังกรมการค้าภายใน
นางจินตนา ศิริสันธนะ ประธาน สอท. ค้านเก็บภาษีแอร์
ด้านนายสุเมธ สิมะกุลธร ประธาน บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน)ได้ออกมาให้สัมพาทย์กับ “ผู้จัดการออนไลน์” ว่า กว่าทางกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศฯ(สอท.)ได้ใช้เวลานาน 17 ปีกว่าที่รัฐจะยอมยกเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตจาก 15%เหลือ 0%ในปี 2552 ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐอ้างเหตุผลทั้งเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมและการใช้ไฟมาก ซึ่งผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศก็ปรับปรุงประสิทธิภาพ จนปัจจุบันเครื่องปรับอากาศไม่มีการใช้สารที่ทำลายมลภาวะและกินไฟได้น้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดอาทิ เครื่องทำน้ำร้อนและเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้นจึงอยากวิงวอนรัฐให้เข้าใจว่าผู้ประกอบการก็เดือดร้อนจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรง หากรัฐเก็บภาษีก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมซึ่งภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้ 1,700 ล้านบาท (หากจัดเก็บภาษีอัตรา 15%เท่าเดิม)เทียบกับเม็ดเงินจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศในแต่ละปีกว่า 3 แสนล้านบาทไม่ได้เลย
งานนี้ใครได้ผลประโยชน์ไปบ้างไม่รู้ แต่ที่รู้คือ ผู้บริโภคนี่แหละต้องมารับภาระราคาเครื่องปรับอากาศที่จะต้องปรับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากการประกาศเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตอย่างเป็นทางการ ตอนนี้ยังไม่เก็บก็รีบไปซื้อแอร์ซะนะ ก่อนที่ราคาแอร์จะพุ่งขึ้นอีกอย่างน้อย 15%