อัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER)
อัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
EER
แปลความหมาย อัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER) คืออะไร
อัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (EER) : หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่อย่างไร
มีหน่วยเป็น EER = [Btu/h]/W
โดย BTU/h = ความเย็นที่ได้
W = กำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่อง เช่น [12000 BTU/h]/1200 W จะได้ EER = 10 หรือ = 1.2 กิโลวัตต์/ตัน
ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง ( Qutput ) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็นนั้น ( Input ) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ให้คุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง
ซึ่งในการโฆษณาขายเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไป ถ้าระบุว่ามีค่า EER = 10 หรือมากกว่า แสดงว่ากินไฟน้อย แต่ถ้า EER = 7-8 แสดงว่ามีประสิทธิภาพต่ำและเราจะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่เราจะซื้อมี EER เท่าไหร่ ดูได้อย่างไร ?
นั่นก็ทำให้เกิดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ขึ้น ซึ่งกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าสัก 1 ชิ้นจะได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้น ก็ต้องผ่านกระบวนการทดสอบและมาตรฐานต่างๆ มากมาย รวมทั้งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ผ่านการรับรองและได้รับฉลากแล้วก็ยังคงมีมาตรฐานการควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสุ่มตรวจ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงานจริงๆ
นโยบายประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน จะเร่งดำเนินการส่งเสริมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง ได้แก่ โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัยทบทวนและศึกษาสถานภาพการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัย ศึกษารวบรวมข้อมูลโครงการอนุรักษ์พลังงานด้านที่อยู่อาศัย ศึกษาและประมาณการศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานใน 2 กลุ่ม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 5 ชนิด อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หลอดฟลูออเรสเซนต์ บัลลาสต์ และพัดลม ฉนวนและวัสดุก่อสร้าง 10 ชนิด อาทิ อิฐมอญ คอนกรีตบล็อก กระจกตัดแสง ไฟเบอร์ ไยแก้วโฟม รวมทั้ง ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์พลังงานในบ้านที่อยู่อาศัย โครงการฉลากรถประหยัดพลังงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน ได้แก่ การใช้ฉลากประหยัดพลังงาน การส่งเสริมส่งเสริมให้มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ตามสถานีบริการรถยนต์ทั่วประเทศ การส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะทางและระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงานอันเนื่องจากรถประสิทธิภาพต่ำ
โครงการฉลากอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ได้ปรับปรุงรูปลักษณ์ของฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เดิมมาเป็นฉลากรูปแบบใหม่โดยมีตราสัญลักษณ์ของกระทรวงพลังงานเป็นพื้นหลัง และแสดงข้อมูลภายในฉลากแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Energy Efficiency Ratio: EER) ข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ในแต่ละปี และข้อมูลที่แสดงถึงจำนวนค่าใช้ไฟฟ้าในแต่ละปี เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลจากฉลากประหยัดพลังงานนี้ ประกอบการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป