หน้าต่างแบบต่างๆ ที่เหมาะหรือไม่เหมาะต่อการติดแอร์
โดยทั่วไปทุกบ้านต้องมีหน้าต่างเป็นองค์ประกอบ การออกแบบหน้าต่างนั้นต้องคำนึงถึงปริมาณแสงอาทิตย์ที่สาดส่องมายังที่พักอาศัย และต้องให้แสดงจากธรรมชาติเข้ามาช่วยในการมองเห็นด้วย เป็นการลดการใช้ไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง แต่สิ่งที่มันขขัดแย่งกันก็คือปริมาณความร้อนที่เข้ามาภายในห้อง หากมีแสงเข้ามามากๆ กลับกลายเป็นการเปลืองไฟแทน วันนี้ทางเชียงใหม่แอร์แคร์จะนำหน้าต่างแบบต่างๆ และคุณสมบัติของหน้าต่างแบบใดที่ควรจะนำมาติดแทนหน้าต่างเดิมในห้องแอร์มาให้พิจารณากันค่ะ
1. หน้าต่างชนิดบานเลื่อนขึ้น - ลง หน้าต่างชนิดนี้ คือเปิดไม่สะดวกเท่าไหร่ และจะรับลมได้เพียงครึ่งเดียวของหน้าต่าง แต่สามารถรับแสงได้อย่างเต็มที่
2. หน้าต่างชนิดเลื่อนด้านข้าง หน้าต่างชนิดนี้นิยมมากในบ้านพักอาศัย เพราะสามารถประหยัดเนื้อที่ภายนอกตัวอาคารได้เยอะ เวลาเปิดหน้าต่างไม่ต้องกินพื้นที่นอกบ้านเลย แต่อาจมีราคาแพง เพราะต้องใช้รางเลื่อนในการติดตั้ง ประโยชน์คือสามารถรับแสงได้อย่างเต็มที่
3. หน้าต่างชนิดบานกระทุ้ง หน้าต่างชนิดนี้จะผลักออกจากขอบเวลาเปิด แล้วใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเวลาปิด ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะเปิดยาก เปิดยาก และทำความสะอาดยาก แต่เป็นหน้าต่างที่รับลใได้ดีมาก
4. หน้าต่างแบบบานเปิดข้าง หน้าต่างแบบนี้นิยมกันทั่วไปตามบ้านเรือน ถ้าเป็นบ้านไม้ หรือบ้านสมัยเก่า บ้านทรงไทย จะนิยมใช้กันมาก หน้าต่างชนิดนี้ทำความสะอาด และเปิด-ปิดได้ง่าย รับแสงรับลมได้ดีมาก แต่เนื่องจากวัสดุเป็นไม้ ทำให้อากาศเย็นจากในห้องเมื่อเปิดแอร์ไหลออกจากนอกห้องได้เยอะมาก
5. หน้าต่างชนิดบานผลัก หน้าต่างชนิดนี้มีทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน ข้อดีคือสามารถรับแสง รับลมได้เต็มที่ แต่ติดมุ้งลวดไม่ได้
6. หน้าต่างแบบบานเกล็ด หน้าต่างแบบนี้ใช้สะดวก และรับลมจากภายนอกได้ดี แต่เสียที่ว่า มีรูรั่วระหว่างช่องของหน้าต่างทำให้เวลาเปิดแอร์อากาศเย็นจะออกภายนอกได้ง่ายมาก
หากบ้านและที่พักอาศัยของท่านเป็นบ้านที่ใช้หน้าต่างอยู่แล้ว (ไม่ได้ใช้กระจกแบบอาคาร) หน้าต่างที่จะแนะนำใช้กับห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็น หน้าต่างที่ดีที่สุดคือ หน้าต่างแบบเลื่อนด้านข้าง เพราะหน้าต่างชนิดนี้จะเก็บความเย็นภายในห้อง และกันลมร้อนจากนอกห้องได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งยังได้รับแสงสว่างจากภายนอกในเวลากลางวัน และติดมุ้งลวดได้อีกด้วย แนะนำให้มีผ้าม่านคลุมเวลาเปิดแอร์นะค่ะ
ขอบคุณเนื้อหาจาก: ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย