วิธีติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง และแผนผังการต่อสายดิน
เปิดอ่าน 47,261
วิธีการต่อสายดินที่ถูกต้อง ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดในบ้าน ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงแค่เครื่องทำน้ำอุ่น พร้อมแผนผังของการต่อลงดิน และการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบละเอียด
- จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรก ของตู้เมนสวิตช์
- ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
- สายดินและสายเส้นศูนย์ต้องต่อร่วมกันที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์ (ดูข้อยกเว้นสำหรับห้องชุด อาคารชุด) และห้ามต่อร่วมกันในที่อื่นๆ อีก อาทิเช่น ในแผงสวิตช์ย่อย ขั้วสายศูนย์ต้องมีฉนวนกั้นแยกจากตัวกล่อง ส่วนขั้วต่อสายดินกับตัวตู้จะต่อถึงกันและต่อลงสายดิน ซึ่งขั้วสายศูนย์และขั้วสายดินจะไม่มีการต่อถึงกัน
- ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย ห้ามต่อสายเส้นศูนย์และสายดินร่วมกัน
- ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตช์อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
- ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
- การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จะเสริมการป้องกันไฟฟ้าดูดให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ
- ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อ ใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น จะไม่สามารถใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งบ้านได้
- วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าจากการใช้ไฟปกติไหลอยู่
- ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย (ห้ามเดินสายดินนอกท่อโลหะ)
- ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40 เมตร หรือห่าง 1.50 เมตร ในแนวราบ)
- ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดินต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่างผังแสดงการต่อลงดินและการต่อสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า
2 = main equipotential bonding conductor (สายต่อฝากหลัก หรือ สายต่อประสานหลัก)
3 = earthing conductor, grounding electrode conductor (สายต่อหลักดิน)
4 = supplementary equipotential bonding conductors, bonding jumper (สายต่อฝาก หรือสายต่อประสาน)
B = main earthing terminal, main earthing bar, ground bus (ขั้วต่อลงดินหลัก)
**ต้องมีการต่อขั้วต่อลงดินหลัก (B) เข้ากับขั้วนิวทรัลที่เมนสวิตช์เสมอ (ยกเว้นในห้องชุดของอาคารชุด)
M = exposed-conductive-part (โลหะเปลือกนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้า)
C = extraneous-conductive-part (ตัวนำหรือโลหะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า)
P = main metallic water pipe (ท่อน้ำโลหะ)
T = earth electrode (หลักดิน)