มาทำความเข้าใจกับน้ำยาไวไฟ (ในการติดไฟ) ความรู้ช่างแอร์
เปิดอ่าน 6,126
ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง ในปี ค.ศ. 2030 จะเป็นปีที่เลิกใช้น้ำยา R-22 ในปัจจุบันนี้ประเทศของเราได้มีการเตรียมการบ้างแล้ว เช่น ได้เปลี่ยนมาใช้ R-410A, R-407 เพื่อรองรับการที่จะเลิกใช้เจ้า R-22 นี้ ในขณะเดียวกันก็มีการทดลองคิดค้นหาน้ำยาตัวใหม่ขั้นมาทดแทนเช่นกัน
เพราะเจ้าตัว R-410A หรือ R-407 ที่กำลังนำมาใช้นี้
ถึงแม้มันจะมีค่าของการทำลายชั้นโอโซนน้อย
แต่ก็มีค่าของความร้อนมาก
เรียกได้ว่ายังไม่รู้ว่าจะเป็นพระเอกตัวจริงหรือเปล่า
มีการนำน้ำยาอีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศในบ้านเราในปัจจุบันนี้ นั่นคือ R-290 ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มน้ำยาพวกไฮโดรคาร์บอน (ISOPROPANE) ถ้านึกภาพของน้ำยาตัวนี้ไม่ออกให้คิดถึงแก๊สธรรมชาติจำพวกแก๊สหุงต้มที่เราใช้อยู่ที่บ้านหรือร้านอาหารโดยทั่วไปนั่นเอง ผมขออนุญาตเรียก R-290 นี้ว่า สารไวไฟ ก็แล้วกัน
ความหมายก็คือ สารไวไฟประเภทนี้ เป็นสารไวไฟประเภทที่มีคุณสมบัติเหมือนกับแก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวของเรา นั้นก็คือสามารถติดไฟได้เหมือนกัน ดังนั้นการใช้น้ำยาตัวนี้กับเครื่องปรับอากาศต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเพราะมันไวไฟ โดยเฉพาะเมื่อน้ำยานี้เกิดการรั่วไหล มันจะหนักกว่าอากาศเช่นเดียวกับแก๊สหุงต้ม หากเกิดประกายไฟขึ้นในบรรยากาศที่มีสารไวไฟประเภทนี้อยู่ก็จะเกิดการติดไฟ และอาจจะเกิดการระเบิดได้ในกรณีที่มีความเข้มข้นของแก๊สนี้ในปริมาณที่สูง
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นดาบสองคม ขณะที่สารไวไฟประเภทนี้มีข้อด้อยตรงที่ว่ามันไวไฟ แต่ก็มีข้อดีคือเมื่อนำคอมเพรสเซอร์มาใช้กับน้ำยาตัวนี้ คอมฯ จะใช้ไฟฟ้าน้อยลง และสามารถนำไปทดแทนน้ำยา R-22 โดยที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมฯ ออกแต่อย่างใด ทั้งยังไม่มีคุณสมบัติในการทำลายชั้นบรรยากาศ (ODP = 0) และมีค่าในการทำให้เกิดความร้อนแก่โลกต่ำ (GWP = 0.0011)
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการฟันธงว่าน้ำยาตัวใดที่จะมาทดแทน R-22 ได้ดีที่สุด ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะมาอภิปรายกันว่า น้ำยาแต่ละตัวมีข้อดีหรือไม่ดีอย่างไร ปล่อยให้พวกนักวิทยาศาสตร์เขาเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ แต่อยากให้เรามองว่า ถ้าหากมีการนำสารไวไฟประเภทนี้มาใช้เมื่อใด มีสิ่งหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากก็คือ ความปลอดภัยในการทำงาน เพราะเราทุกคนย่อมเป็นห่วงช่างของพวกเรา
ผมได้รับเอกสารจากสหายคนหนึ่งของผมที่เคยทำงานใกล้ชิดกับแก๊สไวไฟประเภทนี้ จึงอยากที่จะแบ่งปันให้พวกเราซึ่งอาจจะต้องทำงานกับสารจะแบ่งปันให้พวกเราซึ่งอาจจะต้องทำงานกับสารไวไฟที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ข้อสำคัญก็คือว่า น้ำยาตัวนี้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ดังนั้นเราต้องให้ช่างของพวกเราได้มีการสอบถามเจ้าของบ้านว่าได้เคยมีการเปลี่ยนน้ำยาในเครื่องปรับอากาศมาใช้พวกน้ำยาประเภทไวไฟหรือไม่ หากเจ้าของไม่ทราบ เราก็ต้องหาวิธีทดลองดู เช่นใช้เครื่องมือตรวจสอบแก๊สแอลพีจีเพื่อยืนยัน เป็นต้น แต่อย่าได้ทดลองโดยการจุดไฟโดยเด็ดขาด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าความเข้มข้นของสารไฟไฟประเภทนี้มีมากหรอน้อยขนาดไหน หากมีปริมาณมากก็อาจจะเกิดการระเบิดได้
Credit : สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศประเทศไทย