ภาษา ศาสนา และประเพณีของชาวเชียงใหม่
เปิดอ่าน 7,634
ภาษาที่ชาวเชียงใหม่ใช้
ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า “ภาษาคำเมือง” ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของภาคเหนือมีลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะสำเนียงและศัพท์บางคำ
ศาสนา
ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ
- ศาสนาพุทธ 91.80 %
- ศาสนาอิสลาม 1.17%
- ศาสนาคริสต์ 5.60%
- ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ 0.02%
- ศาสนาอื่น ๆ 1.41%
9 วัดที่สำคัญในเชียงใหม่ ตามหลักทักษาเมือง
- วัดเจดีย์หลวง ศูนย์กลาง
- วัดสวนดอก (บริวารเมือง) ทิศตะวันตก
- วัดเจ็ดยอด (อายุเมือง) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
- วัดเชียงยืน (เดชเมือง) ทิศเหนือ
- วัดชัยศรีภูมิ (ศรีเมือง) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
- วัดบุพผาราม (มูลเมือง) ทิศตะวันออก
- วัดชัยมงคล (อุตสาหเมือง) ทิศจะออกเฉียงใต้
- วัดนันทาราม (มนตรีเมือง) ทิศใต้
- วัดร่าเปิง (ตโปทาราม) กาลกิณีเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ วัดแสนฝาง วัดพันเตา วัดพันอ้น ฯลฯ
ประเพณีสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่
ปีใหม่เมือง(สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สาคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายนมีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมือง โดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทาร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกาแพง มีการแสดงและจาหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติฟ
งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเพณีแห่ไม้ค้าโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆกว่า 40 ขบวนแห่ไปตามเมืองจอมทอง จนถึงวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่ สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้าโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้าสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก