ประวัติและข้อมูลของจังหวัดเชียงใหม่อย่างครบถ้วน
เปิดอ่าน 77,430
ประวัติเมืองเชียงใหม่
เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101
เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงช่วยเหลือล้านนาไทยภายใต้การนำของพระยากาวิละและพระยาจ่าบ้านในการทำสงครามขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนได้สาเร็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนาพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงเทพมหานคร และมีเชื้อสายของพระยากาวิละ ซึ่งเรียกว่า ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและลาปางสืบต่อมาจนกระทั่งในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองประเทศราช ได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ.2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

ขนาดพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และ เส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร
- มีพื้นที่ประมาณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ จำแนกเป็น
- พื้นที่ป่าไม้ 69.92 % (8,787,656 ไร่)
- พื้นที่ทำการเกษตร 12.82 % (1,835,425 ไร่)
- พื้นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 17.26 % (2,167,971 ไร่)
อาณาเขตติดต่อโดยรอบของเชียงใหม่
- ทิศเหนือ รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้าของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้าป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศใต้ อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศตะวันออก อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า(จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง(จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้(จังหวัดลาพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และ ร่องน้าแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
- ทิศตะวันตก อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย(จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้า ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้า ดอยขุนแม่ตื่นเป็น เส้นกั้นอาณาเขต
จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว และมีพื้นที่ติดต่อใน 5 อำเภอ ได้แก่
- อำเภอแม่อาย : 4 ตำบลได้แก่ ตำบลแม่อาย ตำบลมะลิกา ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน เมืองที่ติดต่อคือ เมืองยอน รัฐฉาน
- อำเภอฝาง : 2 ตำบลได้แก่ ตำบลม่อนปิ่น และตำบลแม่งอน เมืองที่ติดต่อ คือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน
- อำเภอเชียงดาว : 1 ตำบลได้แก่ ตำบลเมืองนา เมืองที่ติดต่อคือ บ้านน้ายุม เมืองต่วน รัฐตองยี
- อำเภอเวียงแหง : 3 ตำบลได้แก่ ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง ตำบลแสนไห เมืองที่ติดต่อคือ บ้านบางใหม่สูง บ้านปางเสือเฒ่า บ้านกองเฮือบิน เมืองต่วน รัฐตองยี
- อำเภอไชยปราการ : 1 ตาบลได้แก่ ตาบลหนวงบัว เมืองที่ติดต่อคือ บ้านโป่งป่าแขม เมืองต่วน รัฐฉาน รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศบ่อยครั้ง

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเชียงใหม่
โดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้าปิง มีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ "ดอยอินทนนท์" สูงประมาณ 2,575 เมตร อยู่ในเขตอาเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่น ๆ ที่มี ความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยฟ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร
สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกพื้นที่ราบลุ่มน้าและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้อันได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร
ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้าฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร
สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ประชากรของจังหวัดเชียงใหม่
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2555)
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,682,382 คน แยกเป็น
ชาย 821,031 คน
หญิง 861,351 คน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 84 คน/ตร.กม.
ประชากรชนกลุ่มน้อยในจังหวัด มีจานวน 64,505 คน กระจายตามอำเภอต่าง ๆ ใน 16 อาเภอ โดยแยกเป็น
- บุคคลบนพื้นที่สูง จำนวน 7,828 คน
- อดีตทหารจีนคณะชาติ จำนวน 739 คน
- จีนฮ่ออพยพ จำนวน 302 คน
- จีนฮ่ออิสระ จำนวน 2,356 คน
- ผู้พลัดถิ่นสัฐชาติพม่า จำนวน 451 คน
- ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (มีถิ่นที่อยู่ถาวร) จำนวน 1,852 คน
- ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (อยู่กับนายจ้าง) จำนวน 3,393 คน
- ไทยลื้อ จำนวน 271 คน
- ชุมชนบนพื้นที่สูงที่เป็นชาวเขา จำนวน 4,346 คน
- ชุมชนบนพื้นที่สูงที่ไม่ใช่ชาวเขา จำนวน 35,528 คน
- บุตรของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จำนวน 7,439 คน

อำเภอที่มีประชากรชนกลุ่มน้อยมากที่สุด ได้แก่ อำเภอฝาง รองลงมา ได้แก่ อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย และอำเภอเวียงแหง