บทเรียนที่ร้านแอร์ ต้องเปลี่ยนวิกฤต ให้เป็นโอกาส
เปิดอ่าน 788
หน้าร้อนที่ผ่านมา ร้านแอร์ต้องรู้ปัญหาเล็ก-ใหญ่ ลูกค้า ลูกน้อง เครื่องแอร์ขาด ขายได้แต่ไม่มีช่างติดแอร์ สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิดยอมรับเหตุการณ์ที่ผ่านไป สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ได้ดังนี้
1. ด้านลูกค้า-ผู้รับบริการมีจำนวนมาก และไม่ให้ความสำคัญของงานซ่อมบำรุงรักษาที่ต้องทำเป็นประจำ และการตัดสินใจซื้อเครื่องมักจะไม่เผื่อ BTU
2. ด้านตัวเครื่องปรับอากาศ ที่ด้อยประสิทธิภาพตามอายุการใช้งานเสื่อมลงปีละ 10% บีทียูไม่ได้ตามพื้นที่
3. ด้านอุณหภูมิที่สูงขั้นจากปกติ 3-8 องศา (เดิมประมาณ 32-36 เป็น 34-40 องศา) ความต้องการคงที่ระหว่าง 24-27 องศาแอร์รับไม่ไหว
4. ด้านร้านค้าและช่างผู้ให้บริการไม่เพียงพอ แต่ยอดขายเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ ๆ เฉลี่ยปีละ 2-4 แสนเครื่อง ยังเครื่องที่มีอยู่แล้วอีกนับ 10 ล้านเครื่อง แต่ร้านค้า+ช่าง Sub ทั่วประเทศไทยมีไม่ถึง 5-7 หมื่นราย (ฐานจากตัวเลขร้านค้าสมาชิก 1,000 ร้านค้า)
5. ด้านผู้ผลิตและผู้ขายต่างต้องการตัวเลขในการจำหน่ายสูงสุดในแต่ละปี โดยไม่ให้ความสำคัญต่องานด้านบริการหลังการผลิตและการขาย ไม่มีแผนรองรับงานด้านบริการและสร้างบุคลากรของงานซ่อมบำรุงรักษาที่มีสะสมเป็นจำนวนมาก
6. พวก Sub และช่างแอร์มือสมัครเล่นมีรายได้ดีกันทั่วหน้า เช็ครั่ว เติมน้ำยา (จริง ๆ ปล่อยออก) คิด 1,000 บาท ตามสูตรใช้เวลาไม่ถึง 30 นาที วันหนึ่งเข้าล้าง 5 ราย ได้ 2,500 บาท เช็ครั่วเติมน้ำยา 3 รายได้ 3,000 บาท เทียบกับมารรับรายวันกับร้านค้า คิดเอาเองว่าถ้าปีกกล้าขาแข็งจะไปอยู่ให้ สู้ออกไปทำกินเอง (เป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายอธรรม) วัน ๆ งานทำไม่ทัน รับเงินสด ๆ รายได้วัน ๆ ร่วมหมื่นบาท ร้อนนี้ให้โอกาสอย่าพูดถึงเรื่องงานติดตั้งรายได้สู้ไม่ได้
7. ด้านตัวช่าง (ฝ่ายธรรม) สภาพร่างกาย จิตใจ ความสุขตอนนี้แทบจะเอาตัวเองไม่รอด ทำงานต่อสู้กับความยากลำบากสุด ๆ เจ้านายเห็นใจและดูแลเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหน ยามนี้จะเห็นใจกันมากที่สุด จะอยู่จะไปก็ช่วงเวลานี้แหละ เจ้านายต้องแสดงน้ำใจ สร้างแรงศรัทธา ขวัญกำลังใจอย่างเต็มพิกัด (โอกาสมาถึงแล้ว สร้างบารมี...)
8. การลงทุนปัจจุบัน คนหรือแรงงาน (ช่าง) ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในการทำธุรกิจด้านบริการเครื่องปรับอากาศรถกระบะคันละ 5-7 แสนยังต้องลงทุนซื้อ ไม่มีเงินก็ยังหารถได้แต่ตัวช่างต่อให้มีเงินก็หาซื้อไม่ได้