
นับถอยหลังจากวันนี้ไปไม่เกิน 3-5 ปี โดยเฉพาะภาคแรงงาน (ช่างแอร์) จะมีความเปลี่ยนแปลงไปทั้ง 2 ด้าน คือ ขาดคนเก่า (คนไทย) ที่สร้างยากขึ้น และจะมีคนใหม่ (ลาว พม่า เขมร) ที่สร้างยากกว่าเก่าแต่ก็ดีกว่าเก่าที่ต้องทนกับสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ แก้ไม่ได้
ทุกธุรกิจปัญหาแรงงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ใครแก้ไขได้ก็อยู่รอดไปแบบไม่ถาวรนัก ต้องทำการบ้านทุกวัน ช่างแอร์เป็นปัญหาของธุรกิจนี้มากกว่า 5 ปี แต่ก็ประคับประคองมาแบบหายใจไม่ทั่วท้อง แน่นอนจะต้องหาทางออก สิ่งที่เราต้องมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดมีอะไรบ้าง...

1. ช่างขาด ปัญหาใหญ่ สาเหตุคนรุ่นใหญ่ (16-25 ปี) คุณภาพไม่พอที่จะทำอาชีพนี้ได้ ไม่ว่าจะความรับผิดชอบ ความอดทน ความขยัน ไม่ผ่านเลยน่าจะว่าคนไทยมีโอกาสเรียนหนังสือได้สูงขึ้น หันไปเรียนกันหมด ถือว่าอาชีพนี้ไม่มีอนาคต ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน แต่ไม่มีใครรู้มากนัก ถ้าเทียบกับขับ Taxi รายได้ช่างแอร์ดีกว่า 100% แต่ขับ Taxi อาจสบายกว่า ทำงานไม่หนักเหมือนช่างแอร์ แต่ผมยืนยันว่าช่างแอร์ที่มีความรู้ ประสบการณ์ รายได้ที่หากินเองไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นบาท/เดือน ที่เหลือเก็บ (หมดไปกับเหล้า ยา ผู้หญิง การพนัน) เหมือน ๆ กันทุก ๆ อาชีพ ฉะนั้นปัญหานี้รอปี 2558 (เปิดอาเซียนแรงงานลาว พม่า เขมร) ที่จะมาแทน ต้องหวานทนขมกลืนกันไปก่อน
2. ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศทุกวันนี้ก็พยายามใช้คนน้อยสุด นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในการติดตั้ง ซ่อม บริการ พยายามทำให้แอร์เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป TV พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ เสียบปลั๊กใช้งานได้เลย ไม่ต้องอาศัยช่าง แน่นอนก็อาจเป็นไปได้เฉพาะรุ่นติดผนังตัวเล็ก ๆ แต่ถ้าตัวใหญ่หรือรุ่นฝัง แขวน น่าจะลำบากที่จะไม่ใช้ช่างแอร์ การล้าง การซ่อม บริการหลังการขายยังต้องจำเป็นแต่ก็กลับไปหาข้อ 1
3. ค่าใช้จ่ายในด้านคนจะสูงขึ้นเป็นต้นทุนของธุรกิจที่ต้องอยู่รอด มีผลกำไร ผู้ผลิตหันมาขายตรงให้ผู้บริโภค และไม่มีกำไรให้ร้านค้าที่จะจ้างแรงงานที่สูงทำให้เกิดช่องว่างที่ช่างบริการจะสร้างผลตอบแทนได้อย่างสูง เพราะผู้บริโภคยังทำเองไม่ได้ ร้านจำหน่ายแอร์พร้อมบริการหลังการขายมีโอกาสขึ้นมาได้มากกว่าร้านที่ขายอย่างเดียวไม่มีช่างบริการ
4. การถอดเปลี่ยนอะไหล่ในแอร์ที่เป็นอุตสาหกรรม เป็น Office ยังมีความคุ้มค่า แม้ตามบ้านก็ยังต้องใช้บริการอยู่ นอกจากความไม่คุ้มค่าซื้อใหม่คุ้มค่ากว่า ราคาไม่แพง ถ้าคนไทยยอมรับเรื่องอายุการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เหมือนหลอดไฟที่มีอายุการใช้งาน เมื่อหมดก็ต้องเปลี่ยนไม่ซ่อม คนไทยยังทำใจไม่ได้ แน่นอนค่าแรง+บริการจะแพงกว่าค่าอะไหล่ กลับกันกับสมัย 10-20 ปีก่อนอะไหล่แพง ค่าแรงถูก
5. การแข่งขันกันเอง การตัดราคากัน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แย่งชิงตลาด ในที่สุดตัวใหญ่สุดซึ่งทุกวันนี้ บ้างก็เอาของเก่ามากินกันแล้ หรือลงทุนหาทางสู้เท่าที่จะมีช่องทางอยู่ อาศัยเป็นเจ้าถิ่นหรือชั้นเชิงที่ได้เปรียบกว่า แต่ในที่สุดเรื่องของ IT ข้อมูล ข่าวสาร เป็นอะไรที่ควบคุมไม่ได้ ใครไวกว่าได้เปรียบ สถานที่เท่าที่เห็นเกิดใหม่ เช่น ศูนย์เครื่องใช้ไฟฟ้า Home Pro, แมคโคร, Lotus, ไทยวัสดุ ฯลฯ ก็เป็นภาพเห็นอยู่ทุก ๆ วัน อย่าเห็นแล้วเฉย ๆ มองดูร้านโชว์ห่วยที่ (แปรรูป) ยังอยู่รอดแบบร่อ ๆ แร่ ๆ
ท้ายสุด ขอเพียงให้ท่านมองให้เห็นถึงตัวตนที่ท่านมีอยู่ว่า จะเอาทางไหนที่สบายใจ+กายที่สุดเอาพื้นฐานที่ได้เปรียบออกมาใช้ต่อสู้กับ 5 ข้อ เป็นการบ้าน ต้องหาคำตอบของตัวเองให้ได้ ลอกกันไม่ได้
โดย... ช่างดอน