ชุดป้องกันของมอเตอร์แอร์ (Motor Protector) มีอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 4,361
มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นจะต้องมีชุดป้องกันไม่ให้เกิดอุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไหม้โดยการตัดกระแสไฟฟ้าที่ให้กับมอเตอร์ ชุดป้องกันนี้จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ
- แบบแรกสำหรับป้องกันอุณหภูมิ
- อีกแบบสำหรับป้องกันอุณหภูมิและกระแส
อุปกรณ์ที่ทำด้วยโลหะสองชนิด (Bimetal) ซึ่งมักจะนำมาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ คานจะดันสวิตซ์เพื่อตัดวงจรไฟฟ้า โดยคานทำด้วยโลหะสองชนิดที่มีการขยายตัวไม่เท่ากันนำมาประกบติดกัน ในกรณีที่เกิดอุณหภูมิสูงเกินเกณฑ์เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหผ่านโลหะสองชนิดนี้ทำให้เกิดความร้อน โลหะที่ขยายตัวมากกว่าจะยึดตัวมากกว่าโลหะที่มีการขยายน้อยกว่า จึงทำให้โลหะสองชนิดโค้งไปทางด้านโลหะที่ขยายตัวได้น้อยกว่าเพื่อไปเปิดสวิตซ์
1. ชุดป้องกันความร้อนภายในมอเตอร์
ชุดป้องกันความร้อนภายในมอเตอร์ (Internal Thermostatic Motor Protector) ชุดป้องกันมอเตอร์ที่ทำด้วยโลหะสองชนิด ซึ่งติดอยู่ภายในมอเตอร์มีรูปร่างชุดป้องกันนี้จะเสียบเจ้าไปในเขตลวดสเตเตอร์ เมื่ออุณหภูมิของขดลวดสูงขึ้น คอนแทคจะเปิดออกโดยการโค้งงอของโลหะสองชนิด ชุดป้องกันมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก
2. ชุดป้องกันความร้อนภายนอกมอเตอร์
ชุดป้องกันความร้อนภายนอกมอเตอร์ (External Thermostatic Motor Protector) จะติดอยู่ภายนอกของคอมเพรสเซอร์ คอนแทคจะตัดวงจรทางไฟฟ้าด้วยการงอของโลหะสองชนิด ขณะที่รับคามร้อนจากตัวเรือนของคอมเพรสเซอร์และความร้อนจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเกินเกณฑ์
3. สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า
สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Switch) สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า จะมีหน้าที่ปิด/เปิดวงจรไฟฟ้าให้กับมอเตอร์โดยวิธีให้กระแสไหลเข้าขดลวดของสวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้าทำให้คอนแทคหรือหน้าสัมผัสทั้งสามเฟสต่อกัน และเมื่อเราตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าเข้าขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้านี้คอนแทคหรือหน้าสัมผัสจะแยกจากกัน ชุดนี้เราเรียกว่า คอนแทคเตอร์ (Contactor) ถ้าคอนเทคเตอร์มีรีเลย์ที่ป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเกินเกณฑ์ (Overcurrent Relay) โดยจะทำให้คอนแทคแยกจากกันเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์จะเรียกว่า สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า
ชุดป้องกันไม่ให้กระแสไหลเกินเกณฑ์นี้ จะทำงานเมื่อโหลด (Load) ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นขณะที่มอเตอร์ทำงานปกติ จึงไม่สามารถป้องกันมอเตอร์ในกรณีสตาร์ต กรณีหมุนไม่ออก และในกรณีที่ไฟฟ้าขาดเฟสขณะเดิน
4. ชุดป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์แบบปรอท
ชุดป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์แบบปรอท (Mercury Overcurrent Relay) เพื่อชดเชยผลเสียของสวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว จึงมีรีเลย์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์แบบปรอท (Mercury Overcurrent Relay) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เพราะทำงานได้แน่นอนเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์และไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ