ชนิดและการวัดขนาดสายไฟฟ้า
เปิดอ่าน 7,244
![](https://www.chiangmaiaircare.com/a/261-582616936142248336.jpg)
กระแสไฟฟ้าเมื่อผ่านในสายไฟ ย่อมจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในสายไฟนั้นและความร้อนที่เกิดขึ้นอาจทวีจำนวน หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามค่ากำลังของกระแสที่ผ่านเข้าไป ถ้าเกิดความร้อนมากอาจทำให้ฉนวนที่หุ้มสายไฟนั้นละลายหรือเสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น จึงต้องมีมาตรฐานของฉนวนที่จะทำการหุ้มเส้นลวด โดยไม่ให้เกิดอันตรายแม้แต่สายเปลือกที่ไม่มีฉนวนหุ้ม ก็ต้องมีอัตราจำกัดของกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านไปได้ โดยไม่เกิดความร้อนจัด หรือเกิดอันตรายต่อวัตถุที่อยู่ใกล้เคียงกับสายไฟ
การวัดขนาดสายไฟ
![16.gif 16.gif](https://www.chiangmaiaircare.com/wp-content/emo/16.gif)
![](https://www.chiangmaiaircare.com/a/604-612616936142245315.jpg)
โดยทั่วไปเรามักจะเรียกขนาดสายตามเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเบอร์ขนาดของอเมริกันกับอังกฤษในเรื่องเบอร์จึงอาจแตกต่างกันได้บ้าง เช่น
อังกฤษเบอร์ 16 = อเมริกันเบอร์ 14
ขนาดของเบอร์นี้วัดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 0.064 นิ้ว หรือ 24 มิล ซึ่งเป็นขนาดที่รับการผ่านของกระแสได้ประมาณ 6-8 แอมแปร์ เป็นสายที่นิยมใช้ทำเป็นสายใหญ่ (Main Line) ภายในอาคาร และในกำหนดดวงไฟประมาร 3-6 ดวง
![](https://www.bloggang.com/data/h/hit-the-road/picture/1288008244.jpg)
สายไฟขนาดเบอร์ 22-40 เป็นสายไฟขนาดเล็ก ไม่เหมาะทำเป็นสายไฟฟ้าที่ใช้เดินภายในอาคารหรือบ้าน สำหรับสายไฟขนาดเบอร์ 20 ขึ้นไป ถึงเบอร์ 15 เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารที่ไม่มีการใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ไฟฟ้า (Motor) สำหรับโรงงานอาจจะใช้สายเบอร์ 10 ขึ้นไปถึงเบอร์ 0000 ซึ่งเป็นสายไฟขนาดใหญ่ เหมาะแก่กำลังการรับกระแสไฟฟ้า
การเรียกขนาดของสายไฟอีกแบบหนึ่งคือ เรียกจำนวนเส้นลวดที่พันเกลียวร่วมกัน กับขนาดความยาของเส้นผ่าศูนย์กลางสายไฟด้วยกัน เช่น
![16.gif 16.gif](https://www.chiangmaiaircare.com/wp-content/emo/16.gif)
![16.gif 16.gif](https://www.chiangmaiaircare.com/wp-content/emo/16.gif)