คำแนะนำ และข้อควรระวัง ในการตรวจรั่ว ของระบบปรับอากาศ
เปิดอ่าน 3,421
การติดตั้งแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ มีการตรวจรั่วหลากหลายวิธี แต่ที่นิยมคือการใช้แก๊สอัดเข้าสู่ระบบ ซึ่งมีข้อควรระวังดังนี้
- ห้ามใช้แก๊สออกซิเจนอัดเข้าสู่ระบบ ให้ใช้แก๊สตัวอื่นๆแทน เพราะคุณสมบัติของออกซิเจนนั้น คือการทำให้ติดไฟ และอาจเกิดระเบิดได้
- การอัดแก๊สเข้าสู่ระบบทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้ เกจ์วัดความดัน เพื่อควบคุมแรงอัดให้พอดี ไม่เกินขีดอันตราย ไม่งั้นอาจทำให้เกิดระเบิดได้
ข้อแนะนำในการตรวจรั่ว
- ตรวจหาคราบน้ำมันบริเวณรอยต่อต่างๆ ด้วยสายตา
- ต่อชุดเกจ์ควบคุมแรงดันเข้าสู่ระบบถ้าอ่านค่าได้ 60 – 80 ปอนด์/ตารางนิ้ว ให้ทำการหารอยรั่วด้วยเครื่องตรวรั่ว
- ถ้าเกจ์ไม่แสดงว่ามีความดันในระบบ ให้เติมน้ำยาแอร์ลงไปอีก 1 ปอนด์ สังเกตค่าความดันที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สารทำความเย็นกำลังเข้าสู่ระบบ
- ควรตรวจรอยรั่ว ตามจุดต่างๆของท่อ ข้อต่อ และที่คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ ท่อพักน้ำยา รวมไปถึงอีวาพอเรเตอร์
- ในการตรวจรั่วที่อีวาพอเรเตอร์ ควรเดินพัดลมโบลเออร์ด้วยความเร็วต่ำๆ แล้วตรวจสอบความเย็นที่ได้รับ หากเย็นน้อยไป อาจแปลได้ว่าระบบรั่ว
- หากพบรอยรั่วตามข้อต่อต่างๆ แล้วแก้ไข ก่อนจะแก้ไขนั้น จะต้องปล่อยน้ำยาแอร์ในระบบทิ้งก่อนเสมอ
- อย่าลืมตรวจน้ำมันคอมเพรสเซอร์หลังจากตรวจรอยรั่ว (ในกรณีพบรอยรั่ว) เพราะรอยรั่วอาจเป็นตันำน้ำมันออกจากระบบได้