ความหมายของอุปกรณ์ต่างๆของแอร์
อุปกรณ์ทำความเย็น มีระบบการทำงานที่ไม่ค่อยซับซ้อน แต่ประกอบด้วยอุปกรณ์แต่ละชนิด แต่ละหน่วยทำหน้าที่ต่างกันไป และสัมพันธ์กัน ซึ่งการทำความเย็นเป็นกระบวนการ ถ่ายเทความร้อน ออกจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น เพื่อให้อุณหภูมิลดต่ำลง พูดง่ายๆก็คือเป็นวิธีการลดอุณหภูมิ + รักษาอุณหภูมิ ให้ต่ำกว่าพื้นที่รอบข้างนั่นเอง
อุปกรณ์หลักของระบบทำความเย็น (แอร์)
หลักๆมีดังนี้
- อีวาพอเรเตอร์: มีหน้าที่ดูความร้อนจากบริเวณที่ ที่ต้องการทำความเย็น โดยปล่อยสารทำความเย็นภายในระบบ แล้วระเหยเปลี่ยนเป็นแก๊ส และดูดซับปริมาณความร้อนเข้าไปในระบบผ่านท่อทางเดิน ทำให้อุณหภูมิโดยรอบตัวอีวาพอเรเตอร์ลดต่ำลง
- คอมเพรสเซอร์: มีหน้าที่ดูดสารทำความเย็น พร้อมกันนั้นยังอัดสารทำความเย็น(น้ำยาแอร์) ในสถานะที่เป็นแก๊ส โดยดูดแก๊สที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำจากอีวาพอเรเตอร์ และทำการอัดน้ำยาแอร์ให้มีอุณหภูมิสูง เพื่อดันเข้าคอนเดนเซอร์
- คอนเดนเซอร์: มีหน้าที่ให้สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ในสถานะที่เป็นแก๊ส กลั่นตัวออกเป็นของเหลว สรุปได้ว่า คอนเดนเซอร์ สารทำความเย็นในสถานะแก๊ส อุณหภูมิสูง ความดันสูง ถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อถูกระบายความร้อนจะถูกกลั่นตัวเป็นของเพลว
- ท่อพักสารทำความเย็นเหลว: สารทำความเย็นมีอุณหภูมิสูงที่ออกมาจากคอนเด็นเซอร์ จะถูกส่งมาพักที่นี่ ก่อนถูกส่งไปยังเอกซ์แพนชันวาล์วอีกทีหนึ่ง
- เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว: มีหน้าที่บังคับการไหลของน้ำยาแอร์ที่ถูกส่งผ่านเข้าไปที่อีวาพอเรเตอร์ เพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง จสามารถระเหยเป็นไอได้
นอกจากอุปกรณ์หลักแล้ว ยังมีส่วนประกอบเสริมอีก
เช่น
- ท่อซักชั่น (Suction Line): เป็นท่อทางเดินสารทำความเย็น ที่ต่อระหว่างอีวาพอเรเตอร์กับส่วนดูดอากาศของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) สารทำความเย็นในสภานะแก๊สจากอีวาพอเรเตอร์จะถูกส่งผ่านท่อนี้ไปยังคอมเพรสเซอร์
- ท่อดิสชาร์จ (Discharge Line): เป็นท่อท่างเดินสารทำความเย็น และน้ำยาแอร์ที่ติดต่อกับท่อทางอัดของคอมเพรสเซอร์ กับเจ้าตัวคอนเดนเซอร์ น้ำยาแอร์ในสถานะที่เป็นแก๊ส ซึ่งถูกคอมเพรสเซอร์อัด จะถูกส่งผ่านท่อดิสชาร์จไปยังคอนเดนเซอร์
- ท่อลิควิด (Liquid Line): เป็นเดินสารทำความเย็น เชื่อระหว่างท่อพักสาร กับ เอ็กซ์แพนชันวาล์ว จากท่อพักสารความเย็นจะถูกอัดส่งไปยังเอกซ์แพนชันวาล์วโดยผ่านท่อทนี้