ความรู้เกี่ยวกับ เทอร์โมสตัท (Thermostat) และฮิวมิดิสตัท (Humidistat)
เปิดอ่าน 28,509
ตัวควบคุมอุณหภูมิขอบระบบการทำความเย็นและการปรับอากาศ เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า เทอร์โมสตัท (Thermostat) เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงจะทำให้มีคามดันในตัวกระเปาะ (Thermobulb) ไปดันให้คอนแทคไฟฟ้าเปิด/ปิด ตัวควบคุมอุณหภูมินี้ เราแบ่งตามหลักการทำงานออกเป็นชนิดโลหะสองชนิดกับชนิดความดันไอ (Vapor Pressure Type)
นอกจากชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีชนิดที่ทำงานด้วยความต้านทานทางไฟฟ้า (Electric Resistance Type) โดยใช้ตัต้านทาน (Rrsitor) เช่นเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) และตัวความต้านทานแบบแพลทินัม (Platinum Resistor Elemeht) เป็นตัววัดอุณหภูมิภายนอก โดยอาศัยหลักของการเปลี่ยนแปลงค่าของความต้านทาน และชนิดเทอร์ดมคัปเปิล (Thermocuple) ซึ่งเมื่ออุณหภูมิที่ขั้วเปลี่ยนแปลงจะทำให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้น
เทอร์โมสตัท
เนื่องจากกลไกในการวัดอุณหภูมิที่ดีเลิศของโลหะสองชนิดจึงนิยมใช้ทำเป็นเทอร์โมสตัท (Thermostat) กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังต้องการการปิดเปิดคอนแทคที่รวดเร็ว (Snap Action) ทั้งนี้เพราะว่าจะเกิดประกายไฟฟ้าในช่องห่างระหว่างคอนแทคขึ้นได้ในขณะที่แรงเคลื่อนไฟฟ้ากำลังไหลอยู่ระหว่างคอนแทคนั้นทำให้หน้าคอนแทคเสียหาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟดังกล่า จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยดึงแบบแม่เหล็กหรือสปริง ตัวช่วยดึงนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้ตัด/ต่อบ่อยเกินไป เมื่อมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
ฮิวมิดิสตัท (Humidistat)
เนื่องจากการลดความชื้นจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับการทำความเย็นขณะที่เราเดินเครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน จึงไม่ต้องใช้ชุดคบคุมความชื้น แต่การปรับอากาศให้ร้อนในฤดูหนาวนั้นถ้าไม่มีการเพิ่มความชื้น จะทำให้อากาศมีความชื้นต่ำเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เฟอร์นิเจอร์แห้งและเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น เส้นด้ายเหมือนเส้นผมคือมีคุณสมบัติตามธรรมชาติในการเปลี่ยนแปลงความยาวเมื่อได้รับความชื้น ฮิวมิดิสตัทได้ออกแบบทำให้คอนแทคไฟฟ้าในชุดควบคุมความชื้นปิด/เปิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความชื้นขึ้นในห้อง โดยมีตัววัดความชื้น เช่น เส้นผมของคนเรา หรือเส้นไนล่อนที่มีความไวต่อความชื้นสำหรับตัวคอนแทคเตอร์นั้นสร้างคล้าย ๆ กับของเทอร์โมสตัทดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นฮิวมิดิสตัท (Humidistat) ชนิดที่ใช้ติดข้างฝา