ข้อแนะนำ การแก้ไข เครื่องซิลเลอร์ หลังน้ำท่วม (จากเทรน)
เปิดอ่าน 4,786
จากอุทกภัยที่ผ่านมามีความรุนแรงและส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของปะเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวส่งผลให้โรงงานต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้า และอาคารขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบในวงกว้างทั้งนี้หลาย ๆ ที่จึงประสบปัญหาความเสียหายในส่วนของระบบเครื่องจักรรวมถึงระบบผลิตน้ำมัน (Chiller) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความดูและของเทรน (ประเทศไทย)
ทางบริษัทซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องปรับอากาศจึงเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือและแนะนำผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าได้ทราบขั้นตอนและวิธีการแก้ไขปัญหาเครื่องชิลเลอร์เบื้องต้น เพื่อบรรเทาไม่ให้อุปกรณ์เสียหายมากขึ้น และสามารถแก้ไขซ่อมแซมได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้อาคารและโรงงานของท่านเปิดดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เราจึงได้ทำคู่มือนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
เปลี่ยนเครื่องชิลเลอร์ รุ่น Water Couled CenTreVac CVHE/G และ CDHE/G
เครื่องชิลเลอร์ที่ใช้น้ำยาสารทำความเย็น R-123 ซึ่งถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่เป็น low pressure ที่อาจมีความดันต่ำกว่าบรรยากาศได้ เช่น เครื่องชิลเลอร์โมเดล CVHE, CVHG,ODHE หรือ CDHG โดยปกติถ้าไม่มีการเดินเครื่องชิลเลอร์ ความดันในระบบทั้งฝั่ง low side และฝั่ง high side จะมีความดันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำที่ท่วมอยู่ โดยปกติแล้วอุณหภูมิของน้ำจะอยู่ในช่วง 25-30C ขึ้นอยู่กับช่วงเวลากลางันและกลางคืน ถ้าอุณหภูมิอยู่ที่ 25C ความดันในระบบทั้งฝั่ง low side และ high side จะมีค่าติดลบอยู่ที่ประมาณ -2 psig จึงมีโอกาสที่น้ำจะซึมเข้าเครื่องชิลเลอร์ได้ ถ้าหากเครื่องชิลเลอร์มีการรั่วซึมอยู่ ถ้าน้ำท่วมถึงตำแหน่งที่มีประเก็นหรือเวอร์วิสวาล์ว แนะนำให้ทำการให้ทำการถ่ายน้ำยาออก ตรวจหารอยรั่วพร้อมแวคคั่มระบบใหม่ ระบบไฟฟ้า เช่น ตู้ Starter, ตู้ Control, สายไฟ และสาย Sensor ที่ท่วมน้ำ ต้องทำความสะอาดใหม่ อบให้แห้ง และต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ พร้อมตรวจเช็คเรื่องคามปลอดภัยและทำการเดินเครื่องใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้เครื่องชิลเลอร์โมเดลนี้จะเป็นแบบ Remote Starter คือแยกตู้ Starter ออกจากตัวเครื่องชิลเลอร์ โดยมักจะตั้งตู้ Starter ไว้ที่พื้น ดังนั้นโอกาสที่น้ำจะท่วมตู้ Starter ก็มีโอกาสมากขึ้นด้วย
เครื่องชิลเลอร์ รุ่น Water Cooled Servies R RTHC/D
เครื่องชิลเลอร์ที่ใช้น้ำยาสารทำความเย็นที่เป็นพวก medium หรือ high pressure ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ เช่น เครื่องชิลเลอร์โมเดล RTHD, RTWD, RTWA, RTWB, RTHC จะมีความดันในระบบสูงกว่าบรรยากาศอยู่แล้ว ดังนั้นจึงแทบไม่มีโอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าระบบน้ำยาของเครื่องชิลเลอร์ได้ สิ่งที่ต้องซ่อมแซมคือพวกระบบไฟฟ้า เช่น ตู้ Starter และ Control สายไฟ และสาย Sensor ต่าง ๆ ที่จมน้ำ จำเป็นต้องเปลี่ยนและซ่อมแซมเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วเครื่องชิลเลอร์โมเดลนี้จะเป็นแบบ Unit Mount Starter คือ ตู้ Starter จะติดอยู่กับตัวเครื่องชิลเลอร์ และสูงจากพื้นประมาณ 50 ซม. ดังนั้นโอกาสที่น้ำจะท่วมตู้ Starter ก็จะมีโอกาสน้อยลง
เครื่องชิลเลอร์ รุ่น Air Cooled Series R RTAC/D
เครื่องชิลเลอร์ที่ใช้สารทำความเย็นจำพวก medium หรือ high pressure ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ เช่น เครื่องชิลเลอร์โมเดล RTAA, RTAB, RTAC, RTAD หรือเครื่องชิลเลอร์ขนาดเล็ก เช่น CGAH จะมีความดันในระบบสูงกว่าบรรยากาศอยู่แล้วเช่นกัน ดังนั้นจึงแทบไม่มีโอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าระบบน้ำยาของเครื่องชิลเลอร์ได้ แต่ Condensing unit เป็นแผงคอยล์ระบายความร้อน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำการซ่อมแซมนอกเหนือจากระบบไฟฟ้า, ตู้ Starter และ Control สายไฟ และสาย Sensor แล้ว ยังต้องเพิ่มการล้างแผงคอยล์ Condensing unit และเปลี่ยนพัดลมมอเตอร์คอนเด็นซิ่งด้วยถ้าน้ำท่วมถึงตัวแผง Condensing unit
ข้อควรระวัง : ห้ามทำการจ่ายไฟใด ๆ ให้กับเครื่องชิลเลอร์ เพราะอาจจะทำให้อุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตเสียหาย และอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
1. ในส่วนของระบบไฟฟ้า, สายไฟ, ตู้ Starter ตู้ Control Panel และ Sensor
ตู้ Starter และ ตู้ Control ถ้าน้ำท่วมถึงตู้ Starter และตู้ Control ให้ทำการเปิดตู้และเอาสิ่งสกปรกออกเท่าที่จะทำได้ก่อน และให้เอาสปอตไลท์ส่องห่าง ๆ หรือเอาพัดลมเป่าเพื่อไล่เอาน้ำออก เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกแห้งติดจนถอดยากและเสียเลาในการซ่อมต่อไป
หมายเหตุ : อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น Board Control, Transforme, magnetic Contactor, Power Supply ที่แช่น้ำ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เพราะน้ำที่ท่วมสกปรกมาก และสิ่งสกปรกเหล่านี้จะแทรกซึมไปทุกส่วนของอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลต่อระบบคบคุมเครื่องและอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องได้
สาย Sensor ต่าง ๆ ที่เป็นปลั๊กต่อ ให้ถอดออกเพื่อเอาสิ่งสกปรกออกและปล่อยให้แห้ง ถ้าเป็นรุ่นใหม่ที่มีแผง Board อยู่ที่ตัว Sensor แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ด้วย
2. ส่วน Refrigeration system และ Motor Compressor
จะเห็นได้ว่าสารทำความเย็นและมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์เป็นระบบปิดอยู่แล้ จึงมีโอกาสรั่วเข้าเฉพาะเครื่องที่เป็น low pressure ตามที่กล่าวถึงข้างต้นเท่านั้น ดังนั้นการดูแลเบื้องต้น คือขอให้ทำคามสะอาดด้านนอกตัวเครื่องเพราะอาจมีสิ่งสกปรกติดแน่น และจะทำให้เอาออกยาก
3. Insulation
ถ้าฉนวนหุ้มเครื่องชิลเลอร์เสียหายอันเนื่องมาจากแรงดันน้ำที่ไหลผ่านซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพว่าต้องทำการซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าสภาพยังดีอยู่ก็เพียงทำคามสะอาดและเอาลมเป่าให้แห้งก็พอ
4. กรณีเครื่องชิลเลอร์ ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศจมน้ำ
แผงระบายความร้อนก็จำเป็นต้องทำการล้าง Fin Coil ในเบื้องต้นไปก่อน ถ้ามีปั๊มแรงดันสูงก็ให้ทำความสะอาดไปก่อนเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เศษสกปรกติดแน่นจนเอาออกยาก ถ้าตรวจสภาพแล้วพบว่าสกปรกมาก แนะนำให้ล้างด้วยสารเคมีโดยผู้ชำนาญงาน เพราะจะไม่ทำลาย Fin coil หรือทำให้ Fin coil ล้ม และถ้าน้ำท่วมถึงมอเตอร์พัดลมคอนเด็นชิ่ง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ เพราะการถอดแบริ่งออกมาเปลี่ยนใหม่อายุการใช้งานจะไม่ยืนยาว และยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายอีกด้วย
แผงระบายความร้อนก็จำเป็นต้องทำการล้าง Fin Coil ในเบื้องต้นไปก่อน ถ้ามีปั๊มแรงดันสูงก็ให้ทำความสะอาดไปก่อนเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เศษสกปรกติดแน่นจนเอาออกยาก ถ้าตรวจสภาพแล้วพบว่าสกปรกมาก แนะนำให้ล้างด้วยสารเคมีโดยผู้ชำนาญงาน เพราะจะไม่ทำลาย Fin coil หรือทำให้ Fin coil ล้ม และถ้าน้ำท่วมถึงมอเตอร์พัดลมคอนเด็นชิ่ง แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ เพราะการถอดแบริ่งออกมาเปลี่ยนใหม่อายุการใช้งานจะไม่ยืนยาว และยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายอีกด้วย
5. การที่จะทำการเดินเครื่องใหม่ต้องมีขั้นตอน การตรวจสอบสภาพเครื่องชิลเลอร์และอุปกรณ์
การตรวจสภาพและทำความสะอาด การตรวจสภาพความชื้น และคามเป็นฉนวนของขดลดมอเตอร์ เปลี่ยนอะไหล่จำพวกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แช่น้ำ เช่น Control Board, หม้อแปลง นลน ในกรณีที่เครื่องชิลเลอร์เป็นแบบ low pressure ถ้าจมน้ำถึงตำแหน่งที่อาจมีการรั่ววึมตามที่กล่าวข้างต้น แนะนำให้ทำการถ่ายสารทำความเย็นออกและดึงความชื้นออกจากระบบ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึง Oil filter และ Drier ใหม่
เทรน (ประเทศไทย) มีบริการแบบครบวงจรที่สามารถตอบสนองคามต้องการของท่านที่ต้องการให้เครื่องชิลเลอร์ทุกเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและด้วยศักยภาพสูงสุด หลังจากการซ่อมแซมและดูแลรักษาแล้ว เรามีช่างผู้ชำนาญการด้านดูแลรักษาระบบปรับอากาศโดยเฉพาะ ที่พร้อมให้บริการด้วยประสบการณ์ ความรู้ความสามารถสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ พร้อมทั้งมีความเชี่ยวชาญในอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดูแลรักษาเครื่องชิลเลอร์ทุกเครื่อง