ข้อควรระวังในการใช้สารทำความเย็น น้ำยาแอร์ R22
ปกติสารทำความเย็น R - 22 มีคุณสมบัติ ไม่มีสีไม่มีกลิ่น ไม่กัดโลหะ ไม่ช่วยให้ไฟติด และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่เราจำเป็นต้องใช้งานสารเคมีตัวนี้อย่างถูกหลักวิธี จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเราเองและคนรอบข้าง วันนี้เชียงใหม่แอร์แคร์มีบทความดีๆเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการใช้งานน้ำยาแอร์ R22 มาฝาก เพื่อที่ช่างแอร์ หรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับระบบอากาศในปัจจุบันควรจะศึกษาเองไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
คุณสมบัติทั่วไปของน้ำยาแอร์ R22 คือมีจุดเดือดที่ต่ำมาก ประมาณ -41 องศาฟาเรนไฮต์ หน้าที่หลักของน้ำยาแอร์ R22 คือเป็นตัวกลางในการทำความเย็น ถึงม้ว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มน้ำยาแอร์ที่มีความปลอดภัย แต่ว่าในการใช้งานก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเมื่อน้ำยาแอร์ R22 สัมผัสถูกผิวหนังแล้ว จะทำให้พองเหมือนถูกไฟลวก เพราะขณะที่สารทำความเย็นระเหยไปกับอากาศ มันจะดูดซับปริมาณความร้อนออกจากผิวหนังอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการพองขึ้นได้
ข้อควรปฎิบัติเกี่ยวกับ การใช้งานน้ำยาแอร์ R-22
- ควรใส่ถุงมือและแว่นตาป้องกันทุกครั้ง
- อย่าให้สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ R-22 ในสถานะของเหลว สัมผัสถูกผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลเหมือนไฟลวกทันที
- อย่าให้น้ำยาแอร์เข้าตา เพราะสารทำความเย็นสามารถทำให้ตาคุณบอดได้ทันที ดังนั้นในการใช้งาน การติดตั้งแอร์ ซ่อมแอร์ หรือย้ายแอร์ จะต้องสวมถุงมือและแว่นตาป้องกันอันตรายทุกครั้ง
หากน้ำยาแอร์เข้าตาควรทำอย่างไร ?
ในกรณีถูกน้ำยาแอร์ R-22 เข้าตา ห้าม! ขยี้ตาเป็นอันขาด แต่ให้ปฎิบัติตามต่อไปนี้โดยเร็ว
- อย่าขยี้ตา
- ลืมตาในน้ำเย็นจำนวนมากๆ เพื่อปรับอุณหภูมิของสารทำความเย็นให้สูงขึ้น
- ใช้ผ้าสะอาดปิดตา เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกอื่นๆ
- รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล หรือจักษุแพทย์ทันที
- ห้าม! ทำการรักษาด้วยตนเองเด็ดขาด
ในกรณีสารทำความเย็นถูกผิวหนัง ก็ให้ทำตามขั้นตอนด้านบน โดยนำส่วนที่สัมผัส จุ่มน้ำเย็นจำนวนมากๆ เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์สูงขึ้น แล้วรีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล - น้ำยาแอร์ R12 และ R22 ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถ้ารั่วสู่อากาศ หากจำนวนไม่มากก็ไม่ค่อยเป็นอันตราย แต่หากมีปริมาณมากจะเกิดอันตรายต่อทางเดินหายใจ เพราะน้ำยาแอร์จะระเหยไปแทนที่อากาศ แล้วถ้าถูกเปลวไฟจะเกิดเป็นควันพิษได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการหายใจของคน
- การใช้งานสารทำความเย็นทุกครั้ง ต้องประทำในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรทำในที่อับเด็ดขาด
- หากมีการใช้งานน้ำยาแอร์อื่นๆ ชนิดติดไฟง่าย จะต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญพิเศษและมีประสบการณ์มาก่อน โดยเฉพาะการตรวจซ่อมแอร์ เพราะอาจเกิดระเบิดได้หากทำผิดขั้นตอน
- ห้าม! ใช้ไฟลนท่อสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มอุณหภูมิสารทำความเย็น ในการบรรจุน้ำยาแอร์เข้าในท่อ และห้ามใช้เปลวไฟเชื่อมหัวเชื่อมท่อแก๊ส
- ห้าม! ติดตั้งท่อบรรจุน้ำยาแอร์ไว้กลางแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้ความดันในท่อน้ำยาแอร์สูงขึ้นจนเกิดระเบิดได้
- ขณะปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบ ควรปล่อยอย่างช้าๆ
- เก็บและเคลื่อนย้ายท่อน้ำยาแอร์ในลักษณะตั้งขึ้นเสมอ
- ห้ามปล่อยสารทำความเย็นใกล้บริเวณที่มีการจุดไฟ
หวังว่าความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำยาแอร์ให้ถูกต้องคงทำให้ช่างแอร์และผู้ที่ใช้งานหลายๆคน ระวังมากขึ้นนะค่ะ เพราะน้ำยาแอร์หากใช้ถูกวิธีจะเกิดประโยชน์มากแต่หากใช้ผิดวิธี อาจส่งผลเสียถึงชีวิตเลยทีเดียวค่ะ