ขั้นตอนในการเติมน้ำยาแอร์
ขั้นที่ 1 : ตรวจหารอยรั่วในระบบท่อน้ำยา
คนทั่วไปหลายคนเข้าใจว่าน้ำยาแอร์เมื่อใช้แอร์ไปก็จะหมดไปเรื่อย ๆ ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด น้ำยาแอร์เป็นก๊าซเฉื่อยชนิดหนึ่งและไม่สลายตัวโดยง่าย เมื่อถูกนำไปใช้ในวงจรทำความเย็น น้ำยาจะไหลวนเวียนอยู่ภายในระบบท่อน้ำยาไปเรื่อย ๆ ดังนั้นโอกาสเดียวที่น้ำยาแอร์จะหายไปก็คือเกิดการรั่วที่จุดใดจุดหนึ่งของท่อน้ำยา วิธีการหารอยรั่วของระบบท่อน้ำยาที่สะดวกและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือการใช้น้ำสบู่ ลูบไปตามท่อตรงจุดที่เกิดการรัวก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้น เมื่อพบจุดที่รั่วแล้วก็จะต้องอุดรอยรั่ว เช่น การเชื่อมอุดรอยรั่วนั้นเสีย
ขั้นที่ 2 : ดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบ (ช่างทั่วไปเรียกว่า แวค – Vac)
เมื่อทำการซ่อมรอยรั่วและมีการเชื่อม จะต้องปล่อยน้ำยาออกจากระบบและทำการดูดอากาศ, ความชื้นและอาจจะรวมถึงชี้เชื่อมออกโดยใช้ปั๊มสุญญากาศ (vacuum pump) โดยปกติจะใช้เวลาในการดูดอากาศนี้ไม่ต่ำกว่า ½ ชั่วโมง
น้ำยาที่ใช้กับเครื่องแอรเรียกว่า R-22 ส่วนที่ใช้กับตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิใช้งานต่ำกว่า ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้ R-22 ก็จะเป็น R-12 หรือ R-502 น้ำยา R-22, R-12 และ R-502 มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นไว้ ดังนั้นในระบบท่อน้ำยาจึงต้องมีอุปกรณ์ในการดูดความชื้น (drier) เพื่อดูดความชื้นออกจากน้ำยา ไม่เช่นนั้นความชื้นเหล่านี้อาจจะจับตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอยู่ภายในระบบท่อ และขัดขวางการไหลของน้ำยาได้เมื่อต้องไล่น้ำยาเก่าทิ้งและต้องเติมน้ำยาใหม่จึงจะต้องเปลี่ยนไดร์เออร์ด้วยไดร์เออร์จะมีลักษระเป็นกระเปราะรูปทรงกระบอก อยู่ทางด้านท่อที่เรียกว่า liquid line (ท่อทองแดงท่อเล็ก) และอยู่ระหว่างเครื่องระบายความร้อนและเครื่องแผนคอยล์ภายในห้อง
ขั้นที่ 3 : การเติมน้ำยา
อุปกรณ์ในการเติมน้ำยาที่จะขาดไม่ได้คือชุดเกจวัดหรือ gauge manifold ซึ่งประกอบด้วย compound pressure gauge 1 ตัว high pressure gauge 1 ตัว และชุดวาล์วปิดเปิดทางด้าน low 1 ตัว ทางด้าน high 1 ตัว และสายอ่อนพร้อมจุดต่อสายย้อน 3 ชุด
ชุด gauge manifold นี้ ใช้ตั้งแต่ขั้นที่ 2 – การดูดอากาศและความชื้นจนถึงขั้นที่ 3 นี้ ในการเติมน้ำยา
ในการเติมน้ำยามักจะนิยมเติมในสภาพของน้ำยาที่เป็นก๊าซ ก่อนเติมน้ำยาเข้าระบบจะต้องเปิดน้ำยาจากถัง เพื่อไล่อากาศและความชื้นออกจากชุด gauge manifold และสายย้อนก่อน แล้วจึงขันหัวสายอ่อนเข้ากับจุดต่อเติมน้ำยาที่คอมเพรสเซอร์ (ถ้าคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่จะมีวาล์วบริการที่เรียกว่า service valve อยู่ แต่ถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก อาจจะมีลักษณะเป็นเพียงท่อทองแดงโผล่ปลายออกมาเท่านั้น)
การเติมน้ำยาเริ่มต้นด้วยการเปิดวาล์วที่ถังน้ำยา ปิดวาล์วทางด้าน high และเปิดวาล์วทางด้าน low ของชุด gauge manifold ชั่งน้ำหนักของถังน้ำยาแล้วบันทึกไว้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเดินเครื่องคอมเพรสเซอร์จะดูดน้ำยาในสภาพของก๊าซเข้าสู่ระบบ หากต้องการจะให้น้ำยาเติมเข้าระบบเร็วขึ้น อาจจะใช้ถังน้ำยาแช่ในน้ำร้อนเพื่อช่วยให้น้ำยาระเหยเร็วขึ้น (แต่ไม่ควรจะใช้ไฟลนเพราะอันตรายมาก) และหากอากาศร้อนก็อาจจะใช้น้ำรดลงบนคอยล์ร้อนเพื่อช่วยลดความดันน้ำยาในคอยล์ร้อย ทำให้แรงดูดน้ำยาของคอมเรสเซอร์ดีขึ้น ไม่ควรคว่ำถังน้ำยาเอาหัวลงเพื่อช่วยเร่งการเติมน้ำยา เพราะน้ำยาในสภาพของเหลวจะเข้าคอมเพรสเซอรืและอาจจะทำให้ลิ้นคอมเพรสเซอร์ชำรุดได้ การเติมน้ำยาเข้าทางด้าน high ไม่เหมาะกับคอมเพรสเซอร์ชนิด hermetic ที่มีมอเตอร์อยู่ภายในคอมเพรสเซอร์ เพราะการเติมน้ำยาเข้าทางด้านดูดหรือ low ของคอมเพรสเซอร์ จะช่วยระบายความร้อนจากการเดินคอมเพรสเซอร์ แต่การเติมทางด้าน high น้ำยาไม่สามารถช่วยระบายความร้อนได้
การดูว่าน้ำยาเติมพอหรือยัง ให้บิดวาล์วทั้ง low และ high และดูความดันน้ำยา ซึ่งเทียบได้จากตารางที่ 1 ต่อไปนี้ หรืออาจจะดูจากสเปคเครื่องที่มักจะบอกปริมาณการเติมน้ำยาเป็นน้ำหนัก โดยดูน้ำหนักของถังน้ำยาที่ชั่งได้ลดลงจากที่บันทึกไว้เรื่อเริ่มเติมน้ำยานอกจากนี้ยังสังเกตได้จากคอยล์เย็นว่า “ฉ่ำ” มีน้ำเกาะทั่วหรือไม่ได้อีกด้วย