กำลังไฟฟ้าของแอร์บ้าน ทั้งค่า BTU และค่า EER แล้วก็…ค่าไฟด้วย
เครื่องปรับอากาศ Spec ที่จะต้องติดตัวมาเลยก็คือ ค่า BTU หรือตัวเต็มก็คือ Btu/hr. เป็นค่า Btu ต่อชั่วโมง โดยร้านแอร์ทั่วไปเรียกกันว่า บีทียู
ซึ่ง BTU นั้นชื่อเต็ม หรือคำแปลเต็มๆของมันก็คือ British Thermal Units
ซึ่งขนาดของ 1 BTU นั้น จะเท่ากับ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มขึ้นของน้ำ 450 กรัม ในเวลา 60 นาที หรือคำนวณง่ายๆว่า 1 บีทียู เท่ากับ 1,055 จูล
โดยที่แอร์ขนาด 12,000 BTU จะเทียบได้กับ ปริมาณความร้อนที่สามารถละลายน้ำแข็ง 1 ตันให้ละลายได้ภายใน 1 ชั่วโมง
แต่โดยเนื้อที่ในการประมาณก็คือ 1 ตารางฟุต ดึงความร้อนได้ 30 BTU แต่นี่เป็นการประมาณแบบคร่าวๆเท่านั้น เพราะปริมาณ BTU ที่จริงแล้วนั้น ยังรวมความร้อนอื่นๆอีก เช่น หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ และความร้อนจากตัวคน
ส่วนค่าอีกค่าหนึ่งที่แอบแฝงอยู่ในเครื่องปรับอากาศนั่นก็คือค่า EER หรือภาษาอังกฤษย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio ซึ่งแปลว่า อัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ หากจะพูดให้ไม่ งง ก็คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่อย่างไร มีหน่วยเป็น ( Btu/h )/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง ( Output ) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็นนั้น ( Input )
สรุป...เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง
แล้วเรื่องของเลขประหยัดไฟหละ ประหยัดไฟเบอร์ 5 4 3 แตกต่างกันอย่างไร แอร์จำเป็นต้องมีไหม
จะให้สรุปง่ายๆ ก็คือค่าเลขประหยัดไฟนั้น จะแปลไปตามค่า EER ของเครื่องปรับอากาศ โดยมีเกณท์ตามนี้
- เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดไฟเบอร์ 5 จะต้องมีค่า EER มากกว่า 10.6
- เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดไฟเบอร์ 4 จะต้องมีค่า EER ประมาณ 9.6-10.6
- เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดไฟเบอร์ 3 จะต้องมีค่า EER มากกว่า 8.6-9.6
- เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดไฟเบอร์ 2 จะต้องมีค่า EER มากกว่า 7.6-8.6
- เครื่องปรับอากาศแบบประหยัดไฟเบอร์ 1 จะต้องมีค่า EER ต่ำกว่า 7.6
การคำนวณหาค่า BTU ที่ใช้ในแอร์บ้านนนั้น ท่านสามารถอ่านจากบทความที่ทางร้านเขียนไว้