การออกแบบ ระบบปรับอากาศภายในบ้าน
เปิดอ่าน 2,752
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ควรมีการออกแบบหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและบริเวณห้องที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ดังนี้
- หากห้องที่ทำการปรับอากาศ มีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้กับกระจก เพื่อป้องกันแสงแดดส่องมายังบริเวณพื้นที่ปรับอากาศโดยตรง นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย
- หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้า ม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง
- เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมีแผ่นอลูมิเนี่ยมฟอยล์ หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้า จะช่วยลดการ ส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้
- พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศ ต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก
- ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้ำติดกับห้องนอน อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้ำก็ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น
- ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้า สู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่างแผ่นเกล็ด มาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
- ควรทาสีผนังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการดูดซับความร้อน ผ่านผนังได้ดี หรือสะท้อนรังสีความร้อนออกให้มากที่สุด
- เลือกเครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟ หรือติดฉลากเบอร์ 5 ซึ่งมีค่า EER สูงที่สุด เพราะจะทำให้ประหยัดไฟมากกว่าในการความเย็นที่เท่ากัน
- เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้พอเหมาะกับขนาดของห้องและภาระการทำงาน เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เกินไปทำให้เครื่องคอมเพรสเซอร์ตัดต่อการทำงานบ่อยครั้ง เป็นสาเหตุให้เครื่องคอมเพรสเซอร์สึกหรอเร็ว ส่วนการเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานตลอด อุณหภูมิห้องอาจไม่เย็นตามที่ต้องการ ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้
- ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น (1 ต้นความเย็น มีค่าเท่ากับ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง) - เลือกตำแหน่งสำหรับการติดตั้งส่วนทำความเย็น (คอล์ยเย็น) ในตำแหน่งที่การกระจายลมเย็นเป็นไปอย่างทั่วถึงทั้งห้อง
- เลือกตำแหน่งสำหรับการติดตั้งส่วนระบายความร้อน (คอล์ยร้อน) ในตำแหน่งที่เหมาะสม ง่ายต่อการบำรุงรักษาและอากาศถ่ายเทได้สะดวก