กรดในสารทำความเย็น หนึ่งในสาเหตุของการเกิด Chiller Motor Burnout
เปิดอ่าน 1,897
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า มอเตอร์สำหรับเครื่องทำน้ำเย็นในระบบปรับอากาศมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบเปิดระบายความร้อนด้วยอากาศ (Open Type) และแบบปิดระบายความร้อนด้วยสารทำความเย็น (Hermetic Type)
ในทางเทคนิคมอเตอร์ทั้ง 2 แบบ มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากสาเหตุด้านไฟฟ้าเท่า ๆ กัน แต่มอเตอร์แบบ hermetic จะมีความเสี่ยงสุงกว่า โดยมาจากสาเหตุทางปฏิกิริยาเคมีที่สามารถเปลี่ยนสภาพของผสมระหว่างสารทำความเย็นและน้ำมันให้เป็นกรดกัดกร่อนขดลดมอเตอร์จนเกิดการลัดวงจรและทำให้มอเตอร์ไหม้ในที่สุด ซึ่งในการซ่อมแก้ปัญหาจะมีความซับซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก รวมถึงจะต้องใช้เวลานานในที่นี้เราจะพูดถึงความเสียหายของมอเตอร์ที่กิดจากกรดในสารทำความเย็นโดยมีรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป
การเกิดกรดในสารทำความเย็น ในระบบทำความเย็นของเครื่องทำน้ำเย็นอาจจะมีการเกิดได้ 2 ประเภท
- Organic acid มีคุณสมบัติละลายได้ในน้ำมันแต่ไม่เป็นไอ ดังนั้นจะไม่สร้างความเสียหายกับระบบมากนัก เนื่องจากกรดประเภทนี้จะรวมตัวกับน้ำมันอยู่ใน oil sump ไม่แพร่กระจายไปตามอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ
- Inorganic (Mineral) acid มีคุณสมบัติละลายในน้ำมันได้เล็กน้อยแต่สามารถระเหยได้ง่าย (Volatile) ทำให้สามารถแพร่กระจายปนไปกับสารทำความเย็นและไปตามชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งระบบได้ง่าย ซึ่งกรดประเภทนี้มีความสามารถการกัดกร่อนรุนแรงกว่า และเป็นอันตรายกับระบบอย่างมาก ซึ่งในที่นี้เราจะพูดกันถึงกรดประเภทนี้
Inorganic acid สามารถเกิดขึ้นได้เองเมื่อสารทำความเย็นเสียคุณสมบัติความเสถียร ทำให้เกิดการ Decomposition ของสารทำความเย็นและทำให้เกิดกรดชนิดนี้ขึ้น ซึ่งกระบนการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสารทำความเย็นมีอุณหภูมิสูงขึ้น (และจะถูกเร่งให้เร็วยิ่งขึ้นเมื่ออุณหภูมิของสารทำความเย็นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการระบายความร้อนให้กับขดลดของมอเตอร์ สำหรับมอเตอร์แบบ Herrmetic) ซึ่งกรดที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการกัดกร่อนกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ทั้งหมดที่สัมผัสกับสารทำความเย็น ยิ่งไปกว่านั้นกรณีที่เป็นมอเตอร์แบบ hermetic กรดที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการกัดกร่อนฉนวนของขดลวดมอเตอร์ทำให้สภาพความต้านทานของขดลวดต่ำลงและเกิดการลัดวงจรของขดลด ทำให้มอเตอร์ไหม้ได้ในที่สุด
นอกจากนี้การเกิดกรดในระบบยังสามารถเกิดได้จากการรั่วของความชื้นเข้าไปในระบบ กรณีนี้ส่วนใหญ่จะพบเฉพาะเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้สารทำความเย็นที่มีค่าความดันใช้งานต่ำกว่าบรรยากาศ เช่น HCFC-123 (Negative Pressure Chiller) กล่าคือเมื่อเครื่องทำน้ำเย็นประเภทนี้เกิดการรั่ว อากาศจะไหลเข้าไปในระบบซึ่งจะนำความชื้นเข้าไปด้วย ความชื้นจะรวมตัวกับของผสมระหว่างสารทำความเย็นและน้ำมัน เปลี่ยนรูปเป็นกรด Hydrochloric และน้ำมันเหนียวประเภทต่าง ๆ (Resins, gums, varnish & sludge) ดังนั้นเครื่องทำน้ำเย็นแบบ Negative Pressure มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายกับมอเตอร์มากกว่า