ภาวะโลกร้อน ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกิดจากสาเหตุหลายประการ
ในปี 2016 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากที่สุดของโลก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2018 เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2015 แล้ว เพิ่มขึ้นกว่า 0.07 องศาเซลเซียส จากแบบจำลองการคาดคะเนอุณหภูมิพบว่า ตั้งแต่ปี 2001-2100 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.1-6.4 องศาเซลเซียล ปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมีด้วยกันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ ของเสียจากเชื้อเพลิงและการเกษตรกรรม เป็นต้น
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
หากมองแบบห่วงโซ่แล้ว สิ่งที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือ มนุษย์นั่นเอง ซึ่งถือเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในบรรดาสาเหตุทั้งหมด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม บ้านหรือคอนโดมิเนียม การเกษตร การเผาสิ่งปฏิกูลมูลฝอย การเผาป่า และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน ได้แก่ ไฟป่าตามธรรมชาติ และการปะทุของภูเขาไฟ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสร้างก๊าซเสียหลายชนิดขึ้นมา เรียกรวมกันว่า “ก๊าซเรือนกระจก” ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
กระบวนการนำไปสู่ภาวะโลกร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
สารทั้งหมดที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น จะไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลก หน้าที่ของชั้นบรรยากาศโลกคือ การป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (UV) ส่องลงมายังพื้นโลกมากจนเกินไป เพราะรังสียูวีทำให้เกิดอันตรายต่อผิวของมนุษย์ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ แต่ก๊าซเรือนกระจกทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกเกิดรูโหว่ขนาดใหญ่และแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ จึงทำให้รังสียูวีส่องลงมายังพื้นโลกในปริมาณที่มากกว่าเดิม ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความร้อนและรังสีต่างๆ สามารถสะท้อนกลับออกไปนอกชั้นบรรยากาศได้น้อยมาก เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกจะไปบดบังและก่อตัวอยู่ในบริเวณชั้นบรรยากาศโลกนั่นเอง
ในขณะเดียวกัน ก๊าซเรือนกระจกก็จะทำหน้าที่เป็นกระจก สะท้อนก๊าซ ความร้อน และรังสียูวีให้กลับลงมายังพื้นโลกอีกครั้ง จากเดิมที่อุณหภูมิสูงอยู่แล้ว กลับเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเป็นทวีคูณ ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงเรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือในภาษาอังกฤษคือ “Global Warming”
วิธีรับมือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเสีย ความร้อน และรังสียูวีอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปี ทำให้ในอนาคตคาดการณ์ว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุดคือ การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยการแก้ไขตรงต้นตอของปัญหา นั่นคือการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยสามารถทำได้ดังนี้
- ควรใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด ทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำ ไฟดวงใดที่ไม่ได้ใช้ ก๊อกน้ำที่เปิดทิ้งไว้ ควรปิดและปฏิบัติให้เป็นนิสัย
- สำหรับการใช้รถในการเดินทาง หากสามารถไปด้วยกันได้ก็ควรจะใช้รถคันนั้นให้คุ้มค่า
- สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรควรจะมีการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ อย่างมีแบบแผน ไม่ปล่อยน้ำเสียหรือสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม
- ปลูกต้นไม้ การปลูกต้นไม้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยสร้างออกซิเจนให้กับโลก เพราะต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์เข้าไป และเปลี่ยนให้เป็นก๊าซออกซิเจนออกมา เปรียบเสมือนกับเครื่องปรับอากาศของโลกที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ก็ควรช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อทำให้โลกห่างไกลจากภาวะโลกร้อนและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากทำได้ก็จะกลายเป็นการช่วยประหยัดการใช้พลังงานไปในตัวด้วยนั่นเอง